การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
114 เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร หรือ เล่มสัญชาติที่ใช้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรเพียงสัญชาติ เดียว โดยกล่าวว่าประเทศไทยยึดหลักการมีสัญชาติเดียวตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ นอกจากนี้ยังให้ เจ้าพนักงานซึ่งตรวจพบว่าคนไทยมีสองสัญชาติ ให้ประมวลเรื่องแจ้งตำรวจสันติบาลเพื่อรวบรวมแจ้ง ไปยังกระทรวงมหาดไทยประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้เสียสัญชาติไทย ซึ่งข้อความที่ปรากฏใน หนังสือฉบับนี้ขัดต่อพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 เนื่องจากไม่ปรากฏบทบัญญัติใดเลยใน พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ที่ระบุว่าบุคคลสัญชาติไทยจะต้องถือสัญชาติไทยเพียงสัญชาติ เดียว ดังจะเห็นได้จากบทบัญญัติในมาตรา 13 ชายหรือหญิงไทยสมรสกับคนชาติอื่นและอาจถือ สัญชาติของภริยาหรือสามีได้ ถ้าประสงค์จะสละสัญชาติไทยให้แสดงความจำนงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือมาตรา 14 ผู้มีสัญชาติไทยซึ่งเกิดในขณะที่บิดาหรือมารดาเป็นคนต่างด้าว และได้สัญชาติของบิดา หรือมารดาด้วยตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติของบิดาหรือมารดา ถ้าประสงค์จะถือสัญชาติอื่นอยู่ต่อไป ให้แสดงความจำนงสละสัญชาติไทยภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่มีอายุครบยี่สิบปีบริบูรณ์จากทั้งสอง มาตราดังกล่าว การสละสัญชาติเป็นการแสดงเจตนาของผู้ถือสองสัญชาติ หากผู้ถือสองสัญชาติทั้ง สองกรณีนี้ไม่แสดงความจำนงสละสัญชาติก็สามารถทำได้ ซึ่งเมื่อพิจารณาประกอบกับรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 39 ที่บัญญัติว่าการถอนสัญชาติไทยของบุคคลซึ่งมี สัญชาติไทยโดยการเกิดจะกระทำมิได้ ดังนั้นจึงเห็นได้ชัดว่าประเทศไทยไม่ได้บังคับให้ผู้ใดมีเพียง สัญชาติเดียวตามหนังสือสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองมีหนังสือ ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2552 เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการตรวจอนุญาตให้บุคคลเดินทางเข้าออกราชอาณาจักรกล่าวไว้ 2. แนวปฏิบัติในคู่มือการปฏิบัติงานชื่อ อิมมิเกรชั่น ทเวนตี้โฟว์ เซเว่น ซึ่งเขียนโดย ผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองระบุว่ากรณีคนไทยเดินทางเข้ามาในประเทศโดยใช้ หนังสือเดินทางต่างชาติ หากอยู่เกินกำหนดอนุญาตและไม่ประสงค์จะเสียค่าปรับโดยประสงค์ใช้ หนังสือเดินทางไทยเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เจ้าหน้าที่จะไม่อนุญาตให้เดินทางออก และต้อง เสียค่าปรับอยู่เกินกำหนดอนุญาต ซึ่งการปฎิบัติเช่นนี้ขัดต่อหลักการตีความโดยเคร่งครัดของกฎหมาย อาญา ซึ่งระบุว่าคนต่างด้าวหมายถึง บุคคลธรรมดาซี่งไม่มีสัญชาติไทย ดังนั้นเมื่อคนสองสัญชาติยังคง มีสัญชาติไทย จึงไม่อาจกระทำผิดฐาน เป็นคนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรโดยการอนุญาตสิ้นสุด ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 81 เพราะเป็นการขาดองค์ประกอบของความผิด นอกจากนี้การไม่อนุญาตให้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรนั้นยังขัดต่อปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิ มนุษยชนข้อ 13 เรื่องเสรีภาพในการเดินทางออกจากประเทศใด ๆ อีกด้วย 5.2.2 ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติเกี่ยวกับการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ของคนไทยสองสัญชาติ ไม่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 การเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรปัจจุบันเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองปฏิบัติตาม ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะ 34
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3