การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

115 การตรวจคนเข้าเมือง บทที่ 6 หมวดที่ 1 ข้อ 8 ซึ่งระเบียบดังกล่าวออกโดยอำนาจพระราชบัญญัติ ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 มาตรา 11(4) ที่ให้อำนาจผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติวางระเบียบหรือ ทำคำสั่งเฉพาะเรื่องไว้ให้ข้าราชการตำรวจใช้อำนาจหรือการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ซึ่งระบุ เกี่ยวกับการตรวจหนังสือเดินทางของคนไทยในขณะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร กำหนดให้ พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจหนังสือเดินทางบุคคลซึ่งเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรทุกรายทั้งคนไทยและ คนต่างด้าว โดยไม่มีบทบัญญัติหรือแนวปฏิบัติยกเว้นว่าหากไม่มีหนังสือเดินทางจะกระทำเช่นไร หรือ กรณีคนสองสัญชาติไม่สามารถแสดงหนังสือเดินทางของไทยได้โดยแสดงได้เฉพาะหนังสือเดินทาง ต่างชาติ การปฏิบัติจะต้องกระทำเช่นไร ส่งผลให้การปฏิบัติตลอดระยะเวลาที่เดินทางเข้ามาใน ราชอาณาจักรกระทั่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักรนั้นบุคคลนั้นจะต้องถูกปฏิบัติตนเฉกเช่นคนต่าง ด้าว แนวปฏิบัตินี้ขัดต่อหลักสากลตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนกำหนดให้ทุกคนมีสิทธิที่จะ ออกนอกประเทศใดรวมทั้งประเทศของตนเอง และสิทธิที่จะกลับสู่ประเทศตนเอง โดยหลักการนี้ ถูกสะท้อนให้เห็นอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่กำหนดว่าการห้ามมิให้ผู้มีสัญชาติไทย เข้ามาในราชอาณาจักรจะกระทำมิได้ดังนั้นแม้คนสองสัญชาติจะไม่แสดงหนังสือเดินทางสัญชาติใด เลยก็ตามก็ย่อมเดินทางกลับเข้าสู่ประเทศไทยได้ และในพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ก็มิได้มีบทบัญญัติห้ามคนไทยเดินเข้ามาในประเทศหรือเดินทางออกนอกประเทศโดยไม่มีหนังสือ เดินทางแต่ประการใด ปัญหาคนสองสัญชาติซึ่งใช้หนังสือเดินทางต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทยจึง เกิดขึ้นจากแนวปฏิบัติของเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองของไทย ซึ่งถือปฏิบัติตามระเบียบสำนักงาน ตำรวจแห่งชาติว่าด้วยประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะ 34 การตรวจคนเข้าเมือง บทที่ 6 หมวดที่ 1 ข้อ 8 ดังกล่าวโดยเป็นบทกฎหมายที่กำหนดขั้นตอนการปฏิบัติที่เกินไปกว่าที่ ปรากฏในพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 5.2.3 การถือปฏิบัติสืบเนื่องกันมายาวนานจนทุกฝ่ายยอมรับ แนวทางปฏิบัติที่กำหนดให้คนสองสัญชาติซึ่งถือหนังสือเดินทางต่างชาติเดินทางเข้ามาใน ประเทศไทยจะต้องปฏิบัติตนเฉกเช่นคนต่างด้าว โดยหากอยู่เกินกำหนดอนุญาตจะต้องยื่นขอขยาย ระยะเวลาพำนักต่อเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมือง และหากอยู่เกินกำหนดระยะเวลาอนุญาตจะต้อง ชำระค่าปรับนั้นเป็นการปฏิบัติสืบต่อกันมาอย่างยาวนานและถูกประชาสัมพันธ์ถ่ายทอดจาก สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ไปสู่สถานเอกอัครราชทูตไทย สถานกงสุลไทย ในต่างประเทศ และ ถ่ายทอดต่อในกลุ่มคนไทยสองสัญชาติด้วยกันจนทุกฝ่ายเห็นว่าการปฏิบัติดังกล่าวถูกต้องและ ชอบด้วยตัวบทกฎหมายแล้ว โดยไม่เคยปรากฏว่ามีผู้ใดโต้แย้งสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองหรือฟ้อง เป็นคดีต่อศาลมาก่อนแต่อย่างใด จนทุกฝ่ายทั้งเจ้าหน้าที่รัฐ และคนสองสัญชาติยอมรับการปฏิบัติ เช่นนี้ไปโดยปริยาย

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3