การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
116 5.2.4 ความต้องการในการควบคุมคนสองสัญชาติ ด้วยหลักสากลว่าบุคคลควรจะมีเพียงสัญชาติเดียวและความต้องการในการควบคุม คนสองสัญชาติของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองที่แสดงออกโดยปรากฏใน หนังสือ สำนักงาน ตรวจคนเข้าเมือง เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการตรวจอนุญาตให้บุคคลเดินทางเข้าออกราชอาณาจักร กรณีบุคคลถือหนังสือเดินทางร่วมหรือถือหนังสือเดินทาง 2 เล่ม ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2552 ซึ่งมีใจความให้เจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองซึ่งตรวจพบคนไทยสองสัญชาติเดินทางเข้ า - ออก ราชอาณาจักร ให้ตรวจอนุญาตในหนังสือเดินทางเล่มสัญชาติที่ใช้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร หรือ เล่มสัญชาติที่ใช้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรเพียงสัญชาติเดียว โดยกล่าวว่าประเทศไทย ยึดหลักการมีสัญชาติเดียวตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ นอกจากนี้ยังให้เจ้าพนักงานซึ่งตรวจพบว่า คนไทยมีสองสัญชาติ ให้ประมวลเรื่องแจ้งตำรวจสันติบาลเพื่อรวบรวมแจ้ง ไปยังกระทรวงมหาดไทย ประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้เสียสัญชาติไทย ประกอบกับบทสัมภาษณ์เชิงลึกของเจ้าพนักงาน ตรวจคนเข้าเมืองซึ่งให้ความเห็นว่าการปฏิบัติต่อคนสองสัญชาติซึ่งถือหนังสือเดินทางต่างชาติ เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรนั้นเป็นไปเพื่อการควบคุมคนสองสัญชาติ แต่โดยบทบัญญัติที่นำมาใช้ บังคับนั้นมีการนำพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งใช้บังคับแก่คนต่างด้าว ทั้งในส่วนของ การกำหนดระยะ เวลาพำนัก ในราชอาณ าจักร การยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาพำนัก ในราชอาณาจักร การรายงานตัว รวมทั้งโทษทางอาญากรณีอยู่ในราชอาณาจักรโดยการอนุญาต สิ้นสุด เหล่านี้ต่างเป็นบทบัญญัติที่บังคับแก่คนต่างด้าว ซึ่งนิยามหมายความถึง บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มี สัญชาติไทยเพียงเท่านั้น การนำบทบัญญัติดังกล่าวมาบังคับแก่คนสองสัญชาติจึงไม่ถูกต้องนัก ดังนั้น หากประสงค์จะมีการควบคุมคนสองสัญชาติก็จำต้องมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่กำหนดไว้เฉพาะ อย่างถูกต้อง ใช้บังคับได้อย่างไม่ขัดแย้งกันเองและมีรูปแบบที่เป็นรูปธรรม ซึ่งมีตัวอย่างของประเทศ สหพันธรัฐรัสเซียที่ตรากฎหมายควบคุมคนสองสัญชาติขึ้น (กฎหมายรัฐบาลกลางสหพันธรัฐรัสเซีย ฉบับที่ 142-FZ ลงวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 2014) โดยระบุเหตุผลในการตราว่าเพื่อความมั่นคงของ ป ร ะ เท ศ โ ด ย เป็ น ก า ร แ ก้ ไ ข เพิ่ ม เติ ม ก ฎ ห ม า ย “ ON CITIZENSHIP OF THE RUSSIAN FEDERATION” ลงวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 2002 (กฎหมายสัญชาติของประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย) โดยกำหนดให้พลเมืองสองสัญชาติประกาศสถานะคนสองสัญชาติต่อรัฐบาลสหพันธรัฐรัสเซียตาม กฎหมายฉบับแก้ไขเพิ่มเติม และหากผู้ใดฝ่าฝืนการแจ้งสถานะการมีสองสัญชาติจะมีโทษทางอาญา ซึ่งหากพิจารณากฎหมายไทยในปัจจุบัน เมื่อผลการวิจัยพบว่าการนำพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งใช้ควบคุมคนต่างด้าวมาควบคุมคนสองสัญชาติที่ใช้หนังสือเดินทางต่างชาติเดินทางเข้า ประเทศไทยนอกจากเป็นการไม่ถูกต้องแล้ว ยังไม่ก่อให้เกิดผลที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมเนื่องจากภาครัฐมิ อาจรู้จำนวนคนสองสัญชาติอย่างแท้จริงได้ เช่น หากคนสองสัญชาติใช้หนังสือเดินทางไทยเดินทางเข้า ประเทศก็ไม่สามารถทราบได้ว่าบุคคลนั้นมีสัญชาติอื่นด้วย หากประเทศไทยประสงค์จะควบคุมคน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3