การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

117 สองสัญชาติจะต้องมีการตรากฎหมายซึ่งกำหนดหน้าที่ให้คนสองสัญชาติมีหน้าที่แสดงการมีอยู่ของ สัญชาติอื่นหรือถิ่นพำนักในประเทศอื่น (Permanent residence permit) แก่เจ้าพนักงานฝ่าย ปกครองและเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองให้ทราบถึงสัญชาติหรือถิ่นพำนักในประเทศอื่นของตน และกำหนดแบบฟอร์ม ระยะเวลา รูปแบบการแจ้ง รวมทั้งกำหนดโทษผู้ที่ฝ่าฝืนไม่แจ้งต่อเจ้าพนักงาน ให้ทราบดังกล่าว เพื่อให้มีโทษทางอาญาเป็นมาตรการทางกฎหมายในการลงโทษผู้ฝ่าฝืนอย่างเป็น รูปธรรมและชอบด้วยกฎหมาย ดังแบบอย่างของกฎหมายแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย 5.3 ข้อเสนอแนะ จากปัญหาที่กล่าวมาแล้วเห็นควรมีข้อเสนอแนะดังนี้ ข้อเสนอแนะในทางกฎหมาย 1. ควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยประมวลระเบียบการ ตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะ 34 การตรวจคนเข้าเมือง บทที่ 6 หมวดที่ 1 ข้อ 8 โดยให้ยกเลิก ข้อความในส่วนของการตรวจหนังสือเดินทางของบุคคลผู้มีสัญชาติไทยและให้ระบุเพียงว่าบุคคลซึ่งมี สัญชาติไทยให้แสดงเพียงเอกสารหลักฐานว่าตนมีสัญชาติไทยต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพียงเท่านั้น 2. ควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายควบคุมคนสองสัญชาติ ในลักษณะเช่นเดียวกับกฎหมาย รัฐบาลกลางสหพันธรัฐรัสเซีย ฉบับที่ 142-FZ ลงวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 2014 ซึ่งเป็นการแก้ไข เพิ่มเติมกฎหมาย “ON CITIZENSHIP OF THE RUSSIAN FEDERATION” ลงวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 2002 (กฎหมายสัญชาติของประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย) ดังนั้นประเทศไทยจึงควรเพิ่มบทบัญญัติ กำหนดหน้าที่และบทกำหนดโทษของคนสองสัญชาติไว้ในพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 เช่น “มาตรา 6/1 บุคคลซึ่งมีสัญชาติไทยและถือสัญชาติอื่นด้วย ให้มีหน้าที่แจ้งการมี สัญชาติอื่นนั้นแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ผู้ใดฝ่าฝืนไม่แจ้ง การมีสัญชาติอื่น ต้องระวางโทษ ...” ข้อเสนอแนะในทางปฏิบัติ 1. ควรให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองยกเลิกหนังสือ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2552 เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการตรวจอนุญาตให้บุคคล เดินทางเข้าออก ราชอาณาจักร กรณีบุคคลถือหนังสือเดินทางร่วมหรือถือหนังสือเดินทาง 2 เล่ม ซึ่งมีใจความระบุ แนวทางให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติขัดต่อกฎหมาย และให้มีการออกแนวทางปฏิบัติในการตรวจ อนุญาตให้บุคคลเดินทางเข้าออกราชอาณาจักร กรณีบุคคลถือหนังสือเดินทางร่วมหรือถือหนังสือ เดินทาง 2 เล่ม ฉบับใหม่ซึ่งมีเนื้อหาสอดคล้องกับกฎหมายทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3