การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
2 สถานเอกอัครราชทูตไทยในต่างประเทศ หรือ สถานกงสุลไทยในต่างประเทศ อาทิ สถาน เอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส (สถาน เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส , ม .ป .ป .) , สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลอนดอน (สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลอนดอน, 2563) , สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน (สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน, ม.ป.ป.) รวมถึง สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิประชาชนระหว่างประเทศ สำนักงานคุ้มครองสิทธิ และช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน สำนักงานอัยการสูงสุด (สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครอง สิทธิประชาชนระหว่างประเทศ, 2555) ได้ให้คำแนะนำแก่คนไทยซึ่งถือสองสัญชาติว่า ผู้เดินทางที่ใช้ หนังสือเดินทางต่างประเทศแจ้งเข้าเมือง จะได้รับอนุญาตให้พำนักในประเทศไทยภายในระยะเวลา ที่กำหนดตามประเภทการตรวจลงตรา (Visa) ที่ผู้เดินทางได้รับ อาทิ ตรวจลงตราประเภทท่องเที่ยว (Tourist Visa(TR)) ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรไทย 60 วัน หรือคนอยู่ชั่วคราว (Non Immigrant Visa) ได้รับอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทย 90 วัน หรือบางประเทศได้รับยกเว้น การตรวจลงตรา (ยกเว้น Visa) ตามสิทธิเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนสัญชาตินั้น ๆ ที่รัฐบาลไทย ให้สิทธิ ไม่ว่าจะเป็นอนุญาต 14 วัน เช่น หนังสือเดินทางประเทศเมียนมา หรือ กัมพูชา , อนุญาต 30 วัน เช่น ฮ่องกง ญี่ปุ่น อเมริกา อังกฤษ, อนุญาต 90 วัน เช่น เกาหลีใต้ บราซิล ชิลี โดยไม่ต้อง ขอรับตรวจลงตรา (วีซ่า) ก่อนเดินทางเข้าราชอาณาจักรไทย คนไทยสองสัญชาติซึ่งใช้หนังสือเดินทาง ต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทยก็จะได้รับสิทธิตามนั้น และจะต้องเดินทางออกราชอาณาจักรไทย ก่อนการอนุญาตนั้นสิ้นสุดลง หากผู้เดินทางประสงค์จะพำนักอยู่ต่อ ในประเทศไทยระยะยาว ผู้เดินทางจะต้องปฏิบัติตามระเบียบ/ข้อบังคับในการขออนุญาตขยายเวลาพำนักกับสำนักงาน ตรวจคนเข้าเมืองในฐานะคนต่างชาติ หากอยู่เกินกำหนดอนุญาตที่ได้รับจากเจ้าพนักงาน ตรวจคนเข้าเมืองจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายฐานเป็นคนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรโดยการ อนุญาตสิ้นสุด ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 81 โดยจะถูกเจ้าพนักงาน ตรวจคนเข้าเมืองเปรียบเทียบปรับตามจำนวนวันที่อยู่เกินกำหนดอนุญาต วันละ 500 บาท แต่ทั้งนี้ ไม่เกิน 20,000 บาท นอกจากนี้ขณะพำนักอยู่ในราชอาณาจักรคนสองสัญชาติซึ่งใช้หนังสือเดินทาง ต่างชาติเดินทางเข้าประเทศจะต้องแจ้งรายการที่พักอาศัยตา มแบบเอกสารที่ใช้ยื่นในการ แจ้งขอเข้าประเทศ (แบบ ตม.6) รวมทั้งตลอดเวลาที่พำนักอยู่ในประเทศไทย หากอยู่ในประเทศ เกินกว่า 90 วัน ก็มีหน้าที่แจ้งเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองทราบถึงที่พักอาศัยของตนโดยชักช้า และต้องกระทำเช่นนั้นต่อไปทุกระยะ 90 วันอีกด้วย การขอขยายระยะเวลาพำนักเป็นไปตามระเบียบของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองโดย พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 35 กำหนดให้คนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักร เป็นการชั่วคราว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มอบหมายจะอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรภายใต้เงื่อนไขใดๆ ก็ได้ ผู้บัญชาการสำนักงาน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3