การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

8 พวกขุนนางและกษัตริย์ให้หลักประกันในสิทธิและเสรีภาพบางประการแก่พวกตน โดยที่ในสมัยนั้น การให้หลักประกันดังกล่าวจะกระทำในรูปของเอกสารต่าง ๆ เช่นในปี ค.ศ. 1188 Cortes von Leon บรรดานักบวชและประชาชนชาวสเปนได้มีการร่วมประชุมกัน เพื่อให้การรับรองสิทธิของ ประชาชน เช่น สิทธิในการฟ้องคดี สิทธิในการปรึกษาหารือ สิทธิในการร่วมแสดงความคิดเห็น ในปัญ ห าส ำคัญ ต่ าง ๆ เช่น เกี่ยวกับการท ำส งคราม การท ำสัญญ าสันติภ าพ เป็นต้น (บรรเจิด สิงคะเนติ, 2547) แต่ข้อเรียกร้องที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดในการต่อสู้ของชนชั้นกลางคือ Magna Carta ในปี ค.ศ. 1215 อันเป็นข้อเรียกร้องที่เกิดจากพวกขุนนางไม่พอใจกษัตริย์ที่ปกครองประเทศ ในสมัยนั้น คือ พระเจ้าจอห์น เอกสารนี้เป็นข้อตกลงสงบศึกระหว่างกษัตริย์จอห์นกับเหล่าขุนนาง เจ้าของที่ดิน (Baron) 25 คน ที่รวมตัวกันแข็งขืนยื่นข้อเรียกร้องให้ปฏิรูปอำนาจกษัตริย์ให้เป็นธรรม โดยพวกเขาไม่มีเจตนาจะล้มสถาบันกษัตริย์ แต่ขอลดทอนอำนาจของกษัตริย์ลงให้อยู่ภายใต้กฎหมาย คล้ายกับการยกเลิกระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ภายใต้กฎหมาย ไว้ สาเหตุที่เหล่าเจ้าที่ดินเหล่านี้รวมตัวกันแข็งขืนต่อกษัตริย์ เพราะพระเจ้าจอห์นมีพฤติกรรม ใช้อำนาจกดขี่ประชาชนที่แข็งข้ออย่างทารุณ ทั้งปราบปราม ลักพา คุมขัง ทรมาน และยังขูดรีดภาษี ตามอำเภอใจ ทั้งนี้เพราะหลังจากที่พระองค์ไปทำสงครามในดินแดนฝรั่งเศสแล้วพ่ายแพ้กลับมา จนเงินทองท้องพระคลังไม่พอใช้ ซึ่งการกระทำของพระเจ้าจอห์นนี้สร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชน เป็นอย่างมาก เนื้อหาใจความของข้อตกลงปฏิรูปอำนาจกษัตริย์นี้มีอยู่ด้วยกัน 63 ข้อ แต่หลักใหญ่ ที่ตกทอดมาจนกลายเป็นหลักศิลาประชาธิปไตยคือ หลักการที่ว่าพลเมืองทุกคนรวมทั้งกษัตริย์ จะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน โดยรับรองสิทธิพลเมืองให้เท่าเทียม มีสิทธิเสรีภาพทั้งในตัวบุคคล และในการครอบครองทรัพย์สิน มีกำหนดให้จัดกระบวนการไต่สวนอย่างเป็นธรรม (ข้อ 39) ตลอด จนถึงเรื่องหลักการที่ต่อมาเรียกว่า “No taxation without representation” ที่ระบุไว้ในข้อ 12 และ 14 ที่ว่ากษัตริย์จะเรียกเก็บภาษีจากประชาชนได้ก็ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากประชาชน ส่วนใหญ่เท่านั้น (สมชัย สุวรรณบรรณ, 2563) พัฒนาการกฎหมายรับรองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ที่สำคัญต่อมา คือ The Petition of Right ในปี ค.ศ. 1628 ซึ่งมีสาระสำคัญคือ กฎหมายนี้ห้ามพระมหากษัตริย์ เก็บภาษีโดยมิได้รับอนุญาติจากรัฐสภา ห้ามใช้กฎอัยการศึกในยามปกติ ห้ามจำคุกบุคคลใดโดยไม่มี เหตุอันชอบธรรม และห้ามใช้กำลังทหารกับพลเรือน โดยการกำเนิดของ The Petition of Right ในปี ค.ศ. 1628 สืบเนื่องจากสถานการณ์ทางการเงินบังคับให้พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ต้องเรียกประชุม สภา สภาจึงฉวยโอกาสพิจารณาคำร้องทุกข์ที่เกิดจากการเรียกเก็บภาษีโดยไม่ถูกต้องของฝ่ายกษัตริย์ และภายหลังการอภิปรายสภาก็ได้ผ่านมติเพื่อสนับสนุนเสรีภาพของประชาชน โดยมีเนื้อหาว่า บุคคล ไม่ควรต้องถูกคุมขังโดยมิได้มีการแสดงสาเหตุของการคุมขังนั้นและหมายศาลเพื่อให้ผู้รับหมายอธิบาย

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3