การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
9 สาเหตุที่มีการควบคุมตัวบุคคลควรใช้ได้กับทุกคดีเพื่อให้ศาลตรวจสอบสาเหตุของการคุมขังนั้น และถ้าคำตอบที่ได้รับมิได้แสดงสาเหตุแห่งการคุมขัง ผู้ถูกคุมขังโดยกษัตริย์หรืออภิรัฐมนตรีสภา ก็ควรได้รับการปล่อยตัว ซึ่งหลังจากที่มีการต่อรองกันแล้ว สภาก็สามารถผลักดันจนออกมาเป็น The Petition of Right ในปี ค.ศ. 1628 (ทศพร มูลรัตน์, 2561) เอกสารสำคัญฉบับต่อมาที่เป็นที่มาแห่งแนวคิดสิทธิและเสรีภาพ คือ Bill of Right ซึ่ง พระเจ้าวิลเลียมและพระนางแมรี่ ได้ทรงให้ความเห็นชอบ ซึ่งเอกสารฉบับดังกล่าวมีสาระสำคัญ คือ พระมหากษัตริย์จะทรงระงับกฎหมายหรือใช้บังคับกฎหมาย จะเลิกกฎหมายหรือเลิกใช้บังคับ กฎหมายโดยปราศจากความยินยอมของรัฐสภาย่อมเป็นสิ่งที่มิชอบด้วยกฎหมาย การเรียกเก็บเงิน เพื่อหรือสำหรับการใช้จ่ายของฝ่ายกษัตริย์โดยการอ้างอำนาจกษัตริย์โดยมิได้รับความเห็นชอบ จากรัฐสภาหรือการเรียกเก็บเงินโดยวิธีการอื่นนอกเหนือไปจากที่สภาได้ให้ความเห็นชอบย่อมเป็นสิ่ง ที่มิชอบด้วยกฎหมาย การกำหนดค่าประกันตัวในอัตราที่สูงเกินสมควร การลงโทษปรับในอัตราที่สูง จนเกินเหตุ ตลอดจนการลงโทษอาญาอย่างโหดร้ายทารุณหรือผิดธรรมดาย่อมมิอาจกระทำได้ เป็นต้น (บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ, 2563) แนวคิดสิทธิมนุษยชนในยุคสมัยนี้จึงมีขึ้นเพื่อจำกัดสิทธิการใช้อาจรัฐแทรกแซงสิทธิของ บุคคลอันเป็นที่มาของความเชื่อเรื่องปัจเจกชนนิยม (Individualism) โดยให้คำอธิบายว่ากฎหมาย ธรรมชาติที่รับรองสิทธิมนุษยชนเป็นกฎหมายที่ศักดิ์สิทธิที่พระเจ้าประทานให้มนุษย์ และเป็น กฎหมายที่มีอำนาจสูงสุด รัฐจะตรากฎหมายที่ขัดแย้งกับธรรมชาติไม่ได้ แม้ว่าต่อมาสังคม ให้ความสำคัญกับหลักเหตุผลมากกว่าความเชื่อเรื่องพระเจ้าก็ตาม กฎหมายธรรมชาติยังได้รับ การยอมรับในฐานะกฎของเหตุผลในทางโลกที่มีขึ้นเพื่อปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ส่วนบุคคล ต่อมา ได้มีหนังสือชื่อ Leviathan ของโทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbs กล่าวถึงสาระสำคัญว่า “ในสภาวะที่ยังไม่มีสังคม มนุษย์มีชีวิตอยู่ในธรรมชาติด้วยความหวาดกลัว เห็นแก่ตัว และชอบ ใช้ความรุนแรง เป็นสภาวะของอนาธิปไตย ด้วยความจำเป็นเพื่อหลีกหนีจากสภาวะอันเลวร้าย มนุษย์ จึงรวมตัวกันขึ้นเป็นสังคม และทำความตกลงมอบสิทธิตามธรรมชาติของตนบางส่วนให้กับรัฐ ควบคุมดูแล เพื่อไม่ให้เกิดสภาวะที่ เป็นอนาธิปไตยได้อีก” เช่นเดียวกันกับ จอร์น ล็อค (John Locke) ซึ่งได้กล่าวไว้ในหนังสือ The Second Treaties of Government ไว้ว่า “มนุษย์ใน สภาวะธรรมชาตินั้นเป็นสภาวะแห่งสันติสุข ต่างช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีความเสมอภาคและเป็นอิสระ มีสิทธิสำคัญ 3 ประการ คือ สิทธิในชีวิต อิสรภาพ และทรัพย์สิน ภายใต้การควบคุมของกฎแห่ง ธรรมชาติ การล่วงละเมิดสิทธิที่มนุษย์มีอยู่ตามธรรมชาติจะถูกลงโทษโดยการแก้แค้น” ซึ่งล็อค เรียกว่า “ความยุติธรรมส่วนตัว” เมื่อมนุษย์มาอยู่รวมกันเป็นสังคมและยินยอมอยู่ใต้อำนาจรัฐ รัฐซึ่งได้รับมอบหมายให้ปกป้องคุ้มครองสิทธิในชีวิต เสรีภาพ และทรัพย์สิน มนุษย์จำต้องสละสิทธิ ตามธรรมชาติบางส่วนของตนเพื่อใหสังคมเกิดความสงบสุขและคงสิทธิธรรมชาติอื่นไว้ หากรัฐ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3