การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

11 สิทธิได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมไม่เลือกปฏิบัติอันเนื่องมาจากความแตกต่างด้านเชื้อชาติ ศาสนา เพศ และสีผิวและการห้ามการมีทาสไม่ว่าโดยบังคับหรือสมัครใจ ในประเทศฝรั่งเศสช่วงของการปฏิวัติฝรั่งเศส ซึ่งมีการล้มล้างสถาบันกษัติย์โดยสามัญชน ในวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1789 ได้มีการจัดทำปฏิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษย์และพลเมือง ค.ศ. 1789 (The Declaration of the Rights of Man and Citizen) ในปีเดียวกันรวมทั้งสิ้น 17 ข้อ โดยให้ คำจำกัดความกฎหมายฉบับนี้ว่าเป็นเครื่องมือกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจปกครอง กับเสรีภาพของพลเมือง มีใจความสำคัญคือ การรับรองและคุ้มครองสิทธิของพลเมืองในด้านต่าง ๆ ได้แก่ สิทธิในเสรีภาพ ทรัพย์สิน และความปลอดภัยจากการใช้สิทธิของฝ่ายปกครอง รวมทั้งสิทธิ ต่อต้านการใช้สิทธิเกินขอบเขตของฝ่ายปกครอง การรับรองความเสมอภาคทางกฎหมายของพลเมือง กฎหมายทั้ง 3 ฉบับ ที่จัดทำขึ้นใน 3 ประเทศ ถือเป็นหลักฐานแสดงวิวัฒนาการของการ รับรองและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่อ้างอิงกับกฎธรรมชาติ ในช่วงศตวรรษที่ 18 ของประเทศ ในแถบยุโรป ในขณะที่ประเทศอื่น ๆ ที่ยังไม่มีการกำหนดกฎหมายขึ้นมารับรองสิทธิประชาชน จำกัดอำนาจรัฐ ยังคงพบเห็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์โดยรัฐอยู่ (พงษ์เทพ สันติกุล, 2562) สิทธิมนุษยชนจึงเป็นประเด็นที่สหประชาชาติให้ความสำคัญ พิจารณาได้จากการกำหนด เรื่องสิทธิมนุษยชนไว้ในกฎบัตรสหประชาชาติเพื่อแสดงความมุ่งหมายในการสนับสนุนให้รัฐสมาชิก ตระหนักและเคารพต่อสิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นสิทธิอันเท่าเทียมกันของพลเมืองโลก แต่ด้วยความเป็น กฎบัตรที่ไม่ก่อผลผูกพันต่อรัฐสมาชิกและไม่มีสภาพบังคับเช่นเดียวกับกฎหมาย การดำเนินการบังคับ ต่อรัฐสมาชิกเมื่อเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อพลเมืองจึงกระทำไม่ได้ สหประชาชาติจึงได้จัดทำ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights) และประกาศใช้ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1948 ซึ่งแม้ว่าปฏิญญานี้ไม่เกิดความผูกพันตามกฎหมาย แต่เป็นเสมือน มาตรฐานการปฏิบัติของนานาประเทศที่ลงนามรับรองเพื่อจัดระบบภายในรัฐของตนให้สอดคล้องกับ แนวทางสากลสำหรับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่กำหนดไว้ในปฏิญญา ปฏิญญาสากลปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ. 1948 มีอารัมภบทและเนื้อหา ทั้งสิ้น 30 ข้อ ดังนี้ (กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ, 2551) อารัมภบท โดยที่การยอมรับศักดิ์ศรีแต่กำเนิด และสิทธิซึ่งเท่าเทียมกันและที่ไม่อาจ เพิกถอนได้ของสมาชิกทั้งมวลแห่งครอบครัวมนุษยชาติเป็นพื้นฐานแห่งอิสรภาพ ความยุติธรรม และ สันติภาพในโลก โดยที่การไม่นำพาและการหมิ่นในคุณค่าของสิทธิมนุษยชน ยังผลให้มีการกระทำอัน ป่าเถื่อน ซึ่งเป็นการขัดอย่างร้ายแ รงต่อมโนธรรมของมนุษยชาติ และการมาถึงของโลก

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3