การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
17 ต่อความปลอดภัยของรัฐ และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ดังเช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 31 เสรีภาพในการถือศาสนา หรือ มาตรา 34 เสรีภาพทางวิชาการ หรือการรับรองสิทธิไว้แบบเด็ดขาดซึ่งรัฐไม่สามารถเปลี่ยนแปลง ให้เป็นอย่างอื่นได้ โดยมักจะใช้คำว่า จะกระทำมิได้ เช่น มาตรา 39 การเนรเทศบุคคลไทยออกนอก ราชอาณาจักร หรือห้ามมิให้ผู้มีสัญชาติไทยเข้ามาในราชอาณาจักร จะกระทำมิได้ 2. รับรองสิทธิและเสรีภาพไว้อย่างกลาง คือสามารถตัดสิทธิและเสรีภาพได้โดยการออก กฎหมายเฉพาะบางประเภท เช่น กฎหมายที่ออกใช้ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน เพื่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพของประชาชน อาทิ มาตรา 38 เสรีภาพในเดินทางและการเลือก ถิ่นที่อยู่ การจำกัดเสรีภาพจะกระทำมิได้เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้น เพื่อความมั่นคงของรัฐ , มาตรา 44 เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ เป็นต้น 3. รับรองสิทธิและเสรีภาพไว้ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย ซึ่งการรับรองสิทธิและเสรีภาพ ประเภทนี้เป็นการให้อำนาจสภานิติบัญญัติที่จะออกกฎหมายจำกัดสิทธิและเสรีภาพได้เสมอ อาทิ มาตรา 33 เสรีภาพในเคหสถาน , เสรีภาพในการรวมกันจัดตั้งพรรคการเมือง เป็นต้น แนวคิดที่รัฐมีอำนาจจำกัดโดยยอมอยู่ภายใต้กฎหมายนี้ มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่นใน เยอรมัน เรียกว่า “หลักนิติรัฐ” (Rechtsstaat) หรือในประเทศอังกฤษหลักการนี้เรียกว่า “หลักนิติ ธรรม” (The rule of law) โดยอาจารย์พงษ์เดช วานิชกิตติกูล (2563) ได้อธิบายเรื่องหลักนิติรัฐ และ หลักนิติธรรม ไว้ว่า สาระสำคัญของหลักนิติรัฐ (Rechtsstaat) มีอยู่ 3 ประการ คือ 1. บรรดาการกระทำทั้งหลายของฝ่ายบริหารจะต้องชอบด้วยกฎหมายที่ตราขึ้นโดย ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหารจะมีอำนาจสั่งให้ราษฎรกระทำการหรือละเว้นไม่กระทำการอย่างหนึ่ง อย่างใดได้ ต่อเมื่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายให้อำนาจไว้อย่างชัดแจ้งและต้องใช้อำนาจนั้นภายในกรอบ ที่กฎหมายกำหนดไว้ 2. บรรดากฎหมายทั้งหลายที่ฝ่ายนิติบัญญัติตราขึ้นนั้นจะต้องชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และ กฎหมายดังกล่าวจะต้องไม่ให้อำนาจแก่ฝ่ายบริหารล่วงล้ำเข้าไปในแดนแห่งสิทธิเสรีภาพของราษฎร เกินขอบเขตแห่งความจำเป็นเพื่อธำรงรักษาผลประโยชน์สาธารณะ 3. การควบคุมไม่ให้กระทำของฝ่ายบริหารขัดต่อกฎหมาย การควบคุมไม่ให้กฎหมาย ขัดต่อรัฐธรรมนูญ จะต้องเป็นอำนาจหน้าที่ของฝ่ายตุลาการซึ่งมีความเป็นอิสระจากฝ่ายบริหารและ ฝ่ายนิติบัญญัติ สาระสำคัญของหลักนิติธรรม (The rule of law) มีลักษณะสำคัญ 8 ประการ คือ 1. กฎหมายจะต้องบังคับเป็นการทั่วไปกับบุคคลทุกคน ไม่เว้นแม้แต่องค์กร เจ้าหน้าที่ ของรัฐ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3