การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
19 อื่นได้ เพราะทุกคนเท่าเทียมกัน เพื่อเป็นการคุ้มครองเสรีภาพอันเท่าเทียนกันสำหรับทุกคน เสรีภาพ ของบุคคลหนึ่งย่อมมีข้อจำกัดอยู่ที่เสรีภาพของบุคคลอื่น ประการที่สอง เพื่อดำรงอยู่และเพื่อความสามารถในการทำภาระหน้าที่ของรัฐ การรักษา ความมั่นคง ความปลอดภัยของรัฐ ถือเป็นพื้นฐานสำหรับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพตามพื้นฐานของ ทฤษฎีสัญญาประชาคม รัฐมีหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิของปัจเจกชน ดังนั้น ความมั่นคงในการ ดำรงอยู่ของรัฐและความสามารถทำภาระหน้าที่ของรัฐจึงเป็นเหตุผลอันชอบธรรมที่จะจำกัดสิทธิและ เสรีภาพนั้นได้ ประการที่สาม เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน รัฐมีหน้าที่ต้องดูแลประโยชน์สาธารณะและรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเป็นเรื่อง ชอบธรรมอย่างยิ่งที่จะต้องจำกัดสิทธิและเสรีภาพบางประการดังกล่าว แม้กระทั่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ. 1948 ก็ได้ยอมรับการจำกัดสิทธิและ เสรีภาพ ตามที่รับรองไว้ในข้อ 29(2) ว่า ในการใช้สิทธิและอิสรภาพแห่งตน ทุกคนต้องอยู่ภายใต้ ข้อจำกัดเพียงเท่าที่มีกำหนดไว้ตามกฎหมายเท่านั้น เพื่อวัตถุประสงค์ของการได้มาซึ่งการยอมรับและ การเคารพสิทธิและอิสรภาพอันควรของผู้อื่น และเพื่อให้สอดรับกับความต้องการอันสมควร ทางด้านศีลธรรม ความสงบเรียบร้อยของประชาชน และสวัสดิการทั่วไปในสังคมประชาธิปไตย จากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ. 1948 ดังกล่าว จึงหมายความว่าสิทธิและ เสรีภาพของประชาชนจะถูกจำกัดได้แต่เพียงกฎหมาย และต้องเป็นกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อปกป้อง คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเพื่อความยุติธรรมและความสงบเรียบร้อยของประชาชน เท่านั้น หากกฎหมายที่ตราขึ้นมิได้มีจุดประสงค์ดังกล่าวก็ไม่สามารถจำกัดสิทธิและเสรีภาพได้ จากแนวคิดรัฐธรรมนูญนิยมที่เป็นการรับรองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามที่ได้กล่าว มาแล้ว หากมีการใช้สิทธิและเสรีภาพเกินขอบเขตก็จะนำมาซึ่งการไร้สิทธิและเสรีภาพ รัฐธรรมนูญ ของหลาย ๆ ประเทศจึงวางข้อจำกัดการใช้สิทธิและเสรีภาพไว้ โดยแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1. มีการระบุขอบเขตแห่งการใช้สิทธิและเสรีภาพไว้ในบทมาตราที่ให้สิทธิและเสรีภาพใน รัฐธรรมนูญนั้น เช่น ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 38 บุคคลย่อมมี เสรีภาพในการเดินทางและการเลือกถิ่นที่อยู่ การจำกัดเสรีภาพจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจ ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อความมั่นคงแห่งรัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพของ ประชาชน หรือการผังเมือง หรือเพื่อรักษาสถานภาพครอบครัว หรือเพื่อสวัสดิภาพของผู้เยาว์ และ ในการตรากฎหมายเพื่อจำกัดสิทธิและเสรีภาพนี้ ก็จะมีการอ้างหลักการเพื่อให้สอดคล้องกับ บทมาตราที่คุ้มครองสิทธิเช่นนั้นในรัฐธรรมนูญ เช่น พระราชกำหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ได้กล่าวถึงหลักการว่า พระราชกำหนดนี้มีบทบัญญัติบางประการ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3