การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
20 เกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 36 (เสรีภาพในการเดินทางและเสรีภาพใน การเลือกถิ่นที่อยู่ บัญญัติไว้นาตรา 36 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ซึ่ง เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ใช้บังคับในขณะที่พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ประกาศใช้ ซึ่งเทียบได้กับมาตรา 38 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560) 2. วางขอบ เขตแห่ งการใช้สิทธิและ เสรีภ าพไว้ เป็นการทั่ว ไป เช่น รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 49 บัญญัติไว้ว่า บุคคลจะใช้สิทธิหรือเสรีภาพ เพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมิได้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้กำหนดสิทธิและเสรีภาพของปวง ชนชาวไทย ไว้ในหมวด 3 โดยในทางหลักการหมวดนี้บัญญัติขึ้นเพื่อรองรับแนวคิดที่ว่ามนุษย์ ควรได้รับความคุ้มครองจากรัฐเพื่อจะสามารถรักษาศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไว้ได้ โดยมิให้รัฐใช้อำนาจ ทางนิติบัญญัติออกกฎหมายเพื่อลิดรอนสิทธิและเสรีภาพของประชาชนโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือ เกินจำเป็น ซึ่งหลักการนี้ปรากฏในรัฐธรรมนูญฉบับแรกของโลกคือมหากฎบัตรแม็กนา คาร์ต้า (Magna Carta) และนับแต่นั้นเป็นต้นมา การบัญญัติรัฐธรรมนูญจึงต้องมีบทบัญญัติรับรองสิทธิและ เสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนไว้เสมอ ทั้งนี้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้เปลี่ยนวิธีการเขียนใหม่ให้เป็นสากลมากขึ้น โดยวางหลักการให้ “อะไ รที่ไม่ได้ห้ามไว้ ในรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย สามารถทำได้และได้รับการคุ้มครอง โดยได้กำหนดกรอบการใช้เสรีภาพ ตามหลักสากล (International Convenant on Civil and Political Rights – ICCPR) ไว้ 3 ข้อ ดังนี้ (คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ, 2562) 1. ต้องไม่กระทบความมั่นคงปลอดภัยของชาติ 2. ต้องไม่กระทบความสงบเรียบร้อย 3. ต้องไม่กระทบสิทธิเสรีภาพของคนอื่น สิ่งที่แตกต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับก่อน ๆ ของไทย ที่ปรากฏในหมวด 3 รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 คือ ได้มีการรับรองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนชาวไทย ให้ครอบคลุมกว้างขึ้นกว่าเดิม จากเดิมที่เคยกำหนดให้สิทธิและเสรีภาพได้รับการคุ้มครองเฉพาะที่มี กฎหมายบัญญัติเท่านั้น แต่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้บัญญัติให้ สอดคล้องกับหลักสากลเพื่อให้ประชาชนมีสิทธิและเสรีภาพอย่างเท่าเทียมกันในระบอบประชาธิปไตย โดยให้สามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้ทันที ไม่ต้องรอให้มีการบัญญัติกฎหมายอนุวัติการมาใช้บังคับ ก่อน ทั้งนี้ ถ้าไม่ได้มีการกำหนดห้ามหรือจำกัดไว้ในรัฐธรรมนูญหรือในกฎหมายอื่นแล้ว บุคคลย่อมมี สิทธิและเสรีภาพที่จะทำการนั้นได้และได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ดี การใช้สิทธิ และเสรีภาพย่อมต้องมีความรับผิดชอบต่อผู้อื่น สังคม และประเทศชาติ โดยในหมวด 3 นี้ได้กำหนด
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3