การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

22 บังคับให้กระทำการที่บทกฎหมายมิได้บัญญัติไว้ (ให้บุคคลต้องกระทำการเช่นนั้น) มิได้ (ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล, 2557) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้วางหลักการจำกัดสิทธิและ เสรีภาพไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 26 บัญญัติว่า มาตรา 26 การตรากฎหมายที่มีผลเป็นการจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลต้องเป็นไป ตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่รัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติเงื่อนไขไว้ กฎหมายดังกล่าว ต้องไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม ไม่เพิ่มภาระหรือจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบคคลเกินสมควรแก่เหตุ และ จะกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลมิได้ รวมทั้งต้องระบุเหตุผลความจำเป็นในการจำกัด สิทธิและเสรีภาพไว้ด้วย กฎหมายตามวรรคหนึ่งต้องมีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไป ไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใด กรณีหนึ่งหรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง เห็นได้ว่ามาตรา 26 นี้เป็นการรวบรวมหลักการสำคัญ ๆ ที่เคยมีอยู่ในรัฐธรรมนูญ ฉบับก่อนๆ มาไว้ในที่เดียวแต่บัญญัติให้ชัดเจนถึงความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญมากยิ่งขึ้น อันเป็นการ รองรับกับบทบัญญัติในมาตรา 25 ที่รับรองสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยไว้อย่างไม่จำกัด การจำกัดสิทธิและเสรีภาพจะมีเฉพาะที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญหรือในกฎหมาย มาตรา 26 จึงบัญญัติถึงเงื่อนไขที่จะตรากฎหมายจำกัดสิทธิเสรีภาพโดยกำหนดไว้ 5 ประการ คือ (คณะกรรมการ ร่างรัฐธรรมนูญ, 2562) 1. ต้องไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม หลักนิติธรรม (Rule of Law) นักวิชาการบางท่านอาจเรียกว่าหลักนิติรัฐ (Legal State) หรือในภาษาเยอรมันเรียก เรซท์สตาท (Redchtsstaat) ใช้คติตรงกันว่า ห ลั ก ที่ 1 ถ้ า ไม่ มี ก ฎ ห ม า ย บั ญ ญั ติ ไว้ เจ้ าห น้ าที่ รั ฐ ห รื อ ฝ่ า ย ป ก ค ร อ ง ไม่มีอำนาจกระทำใด ๆ ทั้งสิ้น ซึ่งแตกต่างจากเอกชนที่ว่าหากไม่มีกฎหมายห้ามไว้ย่อมทำได้เสมอ หลักที่ 2 คือ เมื่อมีการกำหนดขอบเขตไว้เช่นใด รัฐหรือฝ่ายปกครองจะต้องใช้ กฎหมายไปในขอบเขตแห่งอำนาจนั้นโดยเคร่งครัด ไม่สามารถใช้อำนาจเกินกว่าขอบเขตที่กฎหมาย บัญญัติไว้ได้ 2. ไม่เพิ่มภาระหรือจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ หลักการนี้มุ่งหมายถึงการห้ามตรากฎหมายสร้างภาระแก่ประชาชนเกินจำเป็น เพื่อป้องกันมิให้รัฐตรากฎหมายจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพเกินความจำเป็นเมื่อคำนึงถึงประโยชน์ของรัฐ หรือสังคมโดยรวม

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3