การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
23 3. จะกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลมิได้ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เป็นคำที่เกิดขึ้นในช่วงหลักสงครามโลกครั้งที่สอง เพื่อเรียกร้องสิทธิและเสรีภาพของตนที่มนุษย์ทุกคนมีอยู่ในตัวเอง ซึ่งใครจะมาละเมิดมิได้ เช่น ชีวิต ร่างกาย ชื่อเสียง เป็นต้น เดิมในรัฐธรรมนูญของประเทศสหรัฐอเมริกาไม่มีการบัญญัติคำดังกล่าวไว้ แต่ในรัฐธรรมนูญยุคใหม่ เช่น เยอรมัน ญี่ปุ่น และพันธกรณีระหว่างประเทศภายหลังมีการจัดตั้ง องค์การสหประชาชาติ คำว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เริ่มบัญญัติในรัฐธรรมนูญของประเทศ สหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1946 ดังนั้นคำว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ จึงมีนัยแตกต่างไปจาก “ศักดิ์ศรี” ในความหมายทั่วไปที่หมายถึง “เกียรติศักดิ์” 4. ต้องระบุเหตุผลความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพไว้ด้วย บทบัญญัติดังกล่าวเป็นหลักประกันมิให้รัฐบาลอาศัยเสียงข้างมากในรัฐสภาที่จะตรา กฎหมายตามอำเภอใจ จนอาจก่อให้เกิดความไม่สงบหรือเดือดร้อนแก่ประชาชนโดยไม่จำเป็น 5. ต้องบังคับใช้ได้เป็นการทั่วไป หลักการนี้เพื่อป้องกันมิให้มีการตรากฎหมายขึ้นมาเพื่อจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพ ของบุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นการเฉพาะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อมิให้เกิดการเลือกปฏิบัติ อันเป็นหลัก สากล ความในมาตรา 26 วรรคสองนี้ มิได้มุ่งหมายเพียงห้ามมิให้ตรากฎหมายในทางจำกัดสิทธิหรือ เสรีภาพแก่บุคคลใดเป็นการเฉพาะโดยตรงเท่านั้น แม้แต่การตรากฎหมายที่จะมีผลให้เกิดกับบุคคลใด บุคคลหนึ่งเป็นการเฉพาะก็ต้องห้ามเช่นเดียวกัน ดังจะเห็นได้ว่าในบางกรณีที่จำเป็นต้องกระทำ ก็ต้อง มีบทบัญญัติยกเว้นไว้ให้ในรัฐธรรมนูญ เช่น ในมาตรา 37 วรรคเจ็ดของรัฐธรรมนูญซึ่งบัญญัติยกเว้น ให้กระทำได้ในกรณีการตรากฎหมายเวนคืนอสังหาริมทรัพย์โดยระบุเจาะจงอสังหาริมทรัพย์หรือ เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 นี้ มีข้อสังเกตประการหนึ่งว่า หมวดที่ 3 นี้ ใช้ชื่อหมวดว่า สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย การทรงสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ต่างด้าวตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 นี้ จะเป็นเช่นไร ประเด็นนี้ในทาง ตำราย่อมถือว่าผู้ทรงสิทธิตามรัฐธรรมนูญย่อมเป็นบุคคลชาวไทย เนื่องจากรัฐธรรมนูญย่อมกำหนดถึง ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับคนสัญชาติรัฐเอง ไม่ได้กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับคนต่างด้าว ถ้ารัฐธรรมนูญต้องการให้สิทธิกับคนต่างด้าวก็ต้องบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะเจาะจง ในกรณี ที่รัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติไว้ย่อมเป็นไปตามสนธิสัญญาและกฎหมายซึ่งไม่ใช่เรื่องของรัฐธรรมนูญ หลักการดังกล่าวนี้เคยถูกหยิบยกขึ้นมาพูดคุยในการตีความตามเจตนารมณ์ในชั้นยกร่างรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2540 ของสภาร่างรัฐธรรมนูญ ว่าบุคคลต่างด้าวก็สามารถเป็นผู้ทรงสิทธิและเสรีภาพซึ่งมี ลักษณะอันเป็นสิทธิมนุษยชนตามรัฐธรรมนูญได้ เนื่องจากสิทธิในลักษณะดังกล่าวมุ่งหมายให้ เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำต่อบุคคลโดยเคารพต่อความเป็นบุคคลไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นคนสัญชาติใด
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3