การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

24 ก็ตาม หากเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการละเมิดสิทธิดังกล่าวต่อบุคคลแม้ว่าจะเป็นบุคคลต่างด้าว บุคคลต่างด้าวก็ชอบที่จะอ้างสิทธิและเสรีภาพในขอบเขตของมนุษยชนตามรัฐธรรมนูญได้ เว้นแต่เป็น กรณีที่มีบทบัญญัติของกฎหมายบัญญัติห้ามไว้หรือเป็นสิทธิในลักษณะ “สิทธิของพลเมือง” เพราะ บุคคลที่จะสามารถยกสิทธิดังกล่าวขึ้นกล่าวอ้างได้จะต้องเป็นพลเมืองของรัฐนั้น ๆ เท่านั้น (นวรัตน์ ประสิทธิ์พรกุล, 2547) ดังนั้นเมื่อหลักการในหมวดที่ 3 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 “สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย” และหมวดที่ 3 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 “สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย” มีหลักการไม่แตกต่างกัน คือทั้งสองฉบับ ไม่แยกระหว่างสิทธิมนุษยชน กับ สิทธิพลเมือง ไว้เฉพาะ จึงอาจนำหลักการเดียวกันนี้มาปรับใช้ได้ 2.3 แนวคิดเกี่ยวกับเสรีภาพในการเดินทาง 2.3.1 ความเป็นมาของเสรีภาพในการเดินทาง เสรีภาพในการเดินทางและเลือกถิ่นที่อยู่ ซึ่งหมายความรวมถึงสิทธิที่จะเดินทางออกนอก ประเทศและกลับเข้ามาในประเทศของตนมีต้นกำเนิดในปรัชญาโบราณและกฎหมายธรรมชาติ โดยเพลโตเขียนถึงแนวคิดของโสกราตีสว่า “เราประกาศต่อชาวเอเธนส์ด้วยเสรีภาพที่เราได้อนุญาต ว่าถ้าใครไม่ชอบเรา เมื่อเขาเติบโตและเห็นถึงวิถีของเมืองและรู้จักเรา เขาอาจจะไปในที่ที่เขาพอใจ และนำสิ่งของของเขาไปด้วย กฎหมายของเราจะไม่ห้ามหรือเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเขา ผู้ใดไม่ชอบเราและ เมืองของเราและต้องการจะอพยพไปอยู่ในอาณานิคมหรือเมืองอื่นใด เขาย่อมไปในที่ที่เขาชอบและ รักษาทรัพย์สินของเขาไว้ได้” แนวความคิดในยุคคลาสสิกเรื่องเสรีภาพในการเดินทางถือได้ว่าเป็นส่วน สำคัญของเสรีภาพส่วนบุคคล ซึ่งจำกัดเฉพาะผู้ชายที่เป็นผู้ใหญ่บางคนเท่านั้น สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นใน งานเขียนของ Epictetus ซึ่งอธิบายคำว่า เสรีภาพ ว่าหมายถึง “ฉันไปในทุกที่ที่ฉันอยากไป และ ฉัน มาจากที่ที่ฉันอยากจากมา” ซึ่งแท้จริงแล้ว นิรุกติศาสตร์ของคำภาษากรีกที่เขาใช้คือ “ไปในที่ ๆ ประสงค์” และในขณะนั้นเข้าใจกันว่าหมายถึงสิ่งที่ตรงกันข้ามกับการเป็นทาส ในยุคคลาสสิก พลเมืองกรีกเดินทางได้อย่างเสรี โดยที่ว่า ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกลายเป็นสถานที่ที่คนทั้งโลก มารวมกันอันเป็นผลมาจากการอพยพและการปะปนกันของหลายประเทศที่อาศัยอยู่ที่นั่น และในทำนองเดียวกัน ในช่วงเวลาของจักรวรรดิโรมัน ผู้คนจากต่างประเทศมีสัดส่วนประมาณ ร้อยละ 90 ของประชากรในกรุงโรม และคำว่า libertas หรือ เสรีภาพ มีความหมายตรงกันข้ามกับ การเป็นทาส เนื่องจากทาสและทาสไม่มีอิสระที่จะเดินทาง สิทธิที่จะออกจากประเทศของตนในกฎหมายระหว่างประเทศสมัยใหม่ คนแรก ๆ ที่เขียน เกี่ยวกับสิทธิในการเคลื่อนไหวอย่างเสรีคือนักกฎหมายที่กำหนดหลักการของกฎหมายของชาติ (กฎหมายระหว่างประเทศ) งานเขียนของชาวสเปน ฟรานซิสโก เดอ วิตอเรีย (Francisco de

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3