การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

25 Victoria) (ค.ศ. 1492 – 1546) และ ฮิวโก้ โกรติอุส (Hugo Grotius) (ค.ศ. 1583 – 1645) มีอิทธิพล อย่างมากต่อการพัฒนากฎหมายระหว่างประเทศ โดย Grotius ยอมรับอย่างชัดแจ้งว่าเจตนาของเขา คือ แสดงให้เห็นโดยสังเขปและชัดเจนว่าชาวดัตช์มีสิทธิที่จะแล่นเรือไปยังหมู่เกาะอินเดียตะวันออก อย่างที่พวกเขากำลังทำอยู่และค้าขายกับผู้คนที่นั่น ส่วน de Vitoria โต้แย้งว่า สิทธิในการเดินทางนั้น ได้รับอนุญาตตั้งแต่แรกเริ่มของโลกที่ทุกคนสามารถออกเดินทางและเดินทางไปที่ไหนก็ได้ ความคิด ของพวกเขาได้รับการพัฒนาในศตวรรษที่ 18 โดยนักวิชาการเช่น Emmerich de Vattel (ค.ศ. 1714–67) เห็นพ้องว่า มนุษย์อาจออกจากสังคมที่ดูเหมือนจะสลายไปเพื่อรวมตัวกันอีกครั้งภายใต้ รูปแบบอื่น พวกเขามีสิทธิที่จะเดินทางออกจากสถานที่ใด ขายที่ดินของตน และนำทุกอย่างของพวก เขาไปด้วย ในกฎหมายธรรมชาติเขาสรุปว่า บุคคลอาจออกจากประเทศของเขาเพราะมนุษย์ทุกคน เกิดมามีอิสระ และเมื่อเติบโตและมีดุลยพินิจก็อาจพิจารณาว่าการอยู่ในสังคมที่เขาเกิดมานั้นดีหรือไม่ หากเห็นว่าไม่มีประโยชน์ที่จะอยู่ที่นั่นต่อไป เขาก็ย่อมมีอิสระที่ก้าวออกจากที่นั่น โดยชดใช้ค่าเสียหาย ที่ตนได้กระทำ และรักษาไว้จนกว่าการนัดหมายใหม่จะอนุญาตให้เขาในความรู้สึกของความรักและ ความกตัญญูที่เขาเป็นหนี้มัน และต่อมา ฌอง-ฌาค รุสโซ Jean-Jacques Rousseau (ค.ศ. 1712– 78) ได้สอดแทรกข้อสันนิษฐานนี้ไว้ โดยเขาคิดว่า “บุคคลสามารถละทิ้งความจงรักภักดีต่อรัฐได้ก็ ต่อเมื่อเขาไม่ได้ทิ้งภาระหน้าที่และหลีกเลี่ยงการรับใช้ประเทศของเขาในเวลาที่ประเทศต้องการ ” (Mcadam, J., 2011) เสรีภาพในการเดินทางและเลือกถิ่นที่อยู่ถูกพัฒนาเรื่อยมากระทั่งปรากฏเป็นสามลักษณะ ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและ สิทธิทางการเมือง ประการแรก คือ ครอบคลุมสิทธิในการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีภายในประเทศหนึ่ง ๆ และการเลือกที่อยู่อาศัยของบุคคลนั้น ประการที่สอง คือ สิทธินั้นครอบคลุมถึงสิทธิในการข้ามแดน ระหว่างประเทศซึ่งหมายถึงสิทธิที่จะออกจากประเทศใด ๆ รวมทั้งประเทศของตนด้วย ประการที่สาม คือ สิทธิในการกลับประเทศของตนควบคู่ไปกับสิทธิในการแสวงหาความสุขในประเทศอื่น และการลี้ภัยจากการประหัตประหาร 2.3.2 ความหมายและประเภทของเสรีภาพในการเดินทาง เมื่อกล่าวถึงคำว่าเสรีภาพในการเดินทางในยุคปัจจุบัน จะพบมักจะอ้างถึงหลักการจาก กฎหมาย 2 ฉบับ คือ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิ พลเมืองและสิทธิทางการเมือง ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 13 บัญญัติว่า ข้อ 13 (1) ทุกคนมีสิทธิในอิสรภาพแห่งการเคลื่อนย้ายและการอยู่อาศัยภายในพรมแดน ของแต่ละรัฐ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3