การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

28 และในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ก็ได้มีการนำเรื่องสิทธิและเสรีภาพ ของปวงชนชาวไทยมาบัญญัติไว้ในหมวด 3 มาตรา 25 – 49 (พงษ์ธวัฒน์ บุญพิทักษ์, ม.ป.ป.) เกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพในการเดินทางนับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครองงระบอบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เป็นต้นมาถึงปัจจุบันมีรัฐธรรมนูญเพียงไม่กี่ฉบับที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับ สิทธิและเสรีภาพในการเดินทางและการเลือกถิ่นที่อยู่ โดยยอมรับในสิทธิและเสรีภาพขั้นมูลฐาน ของประชาชนที่ควรได้รับจากการบัญญัติรับรองและคุ้มครองไว้ ได้แก่ รัฐธรรมนูญฉบับ พุทธศักราช 2492, รัฐธรรมนูญฉบับ พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2495 , รัฐธรรมนูญฉบับ พุทธศักราช 2511, รัฐธรรมนูญฉบับ พุทธศักราช 2517,รัฐธรรมนูญฉบับ พุทธศักราช 2521, รัฐธรรมนูญฉบับ พุทธศักราช 2534, รัฐธรรมนูญฉบับ พุทธศักราช 2540, รัฐธรรมนูญฉบับ พุทธศักราช 2550 และ รัฐธรรมนูญฉบับ 2560 ที่ใช้ในปัจจุบัน ซึ่งเสรีภาพในการเดินทางและการเลือกถิ่นที่อยู่นี้กฎหมาย ดูจะรับรองไว้น้อยมากเมื่อเทียบกับเสรีภาพด้านอื่น เช่น เสรีภาพในการชุมนุม เป็นต้น สิทธิมนุษยชนตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ. 1948 ข้อ 13 ถูกนำมาบัญญัติ รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 38 และ 39 มาตรา 38 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการเดินทางและการเลือกถิ่นที่อยู่ การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติ แห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพของประชาชน หรือ การผังเมือง หรือเพื่อรักษาสถานภาพของครอบครัว หรือเพื่อสวัสดิภาพของผู้เยาว์ มาตรา 39 การเนรเทศบุคคลสัญชาติไทยออกนอกราชอาณาจักร หรือห้ามมิให้ ผู้มีสัญชาติไทยเข้ามาในราชอาณาจักร จะกระทำมิได้ การถอนสัญชาติของบุคคลซึ่งมีสัญชาติไทยโดยการเกิด จะกระทำมิได้ เป็นที่น่าสังเกตว่า รัฐธรรมนูญทุกฉบับที่บัญญัติรับรองเสรีภาพในการเดินทางและ การเลือกถิ่นที่อยู่ของประชาชน จะมีการบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องห้ามเนรเทศบุคคลผู้มีสัญชาติไทย ออกนอกราชอาณาจักรไว้ด้วยทุกฉบับ ต่างกันตรงที่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้แยกเนื้อหาออกเป็น 2 มาตรา คือ มาตรา 38 และ 39 บทบัญญัติลักษณะนี้ปรากฏเป็นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 มาตรา 41 และได้บัญญัติในทำนองเดียวกันไว้ในรัฐธรรมนูญทุกฉบับ เพื่อที่จะคุ้มครองสิทธิและ เสรีภาพของบุคคลผู้มีสัญชาติไทยมิให้ถูกเนรเทศออกนอกราชอาณาจักรไทยหรือถูกห้ามมิให้เข้ามา ในราชอาณาจักรไทย ซึ่งบทบัญญัตินี้ในหลักทั่วไปของกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดน กรณีผู้กระทำผิด

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3