การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

29 เป็นบุคคลในสัญชาติของประเทศผู้รับคำขอ เมื่อผู้กระทำผิดหลบหนีกลับเข้าประเทศที่ตนมีสัญชาติ อยู่ ประเทศเจ้าของสัญชาติผู้กระทำผิดจะไม่ยอมส่งตัวบุคคลผู้กระทำความผิดนั้นไปให้ประเทศอื่น พิจารณาพิพากษาคดีเพื่อลงโทษโดยถือหลักที่ว่า “ไม่ยอมส่งคนสัญชาติตนข้ามแดนให้ประเทศอื่น” ก็สามารถกระทำได้ (อริยพร โพธิใส, 2553) ส่วนเนื้อหาในมาตรา 39 วรรคสอง เป็นบทบัญญัติใหม่เพื่อกำหนดว่าการถอนสัญชาติไทย โดยการเกิดจะกระทำมิได้ ทั้งนี้ บุคคลต่างชาติผู้ได้มาซึ่งสัญชาติไทยโดยวิธีการใด ๆ เช่นสมรสกับ หญิงไทย บุคคลดังกล่าวจึงไม่ได้สัญชาติไทยโดยการเกิด หากมีการกระทำความผิดตามกฎหมาย ย่อมส่งผลให้ถูกถอนสัญชาติได้ และเมื่อถูกถอนสัญชาติไทยแล้วก็สามารถทำการเนรเทศได้ ทั้งนี้หากบุคคลดังกล่าวยังถือสัญชาติไทย จะไม่สามารถทำการเนรเทศได้ เพราะเป็นการผิดหลักสากล แต่การถอนสัญชาติของบุคคลซึ่งมีสัญชาติไทยโดยการเกิดจะกระทำมิได้ เพราะหากเนรเทศบุคคล ที่ถือสัญชาติไทยโดยการเกิดซึ่งถือว่าเป็นคนไทย บุคคลเหล่านั้นจะไม่มีประเทศให้อยู่อาศัย ดังนั้นการที่สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2560 ได้มีการรับรองสิทธิเสรีภาพไว้อย่างกว้างในมาตรา 25 และการกล่าวอ้างสิทธิและเสรีภาพถูกบัญญัติ ไว้ใน มาตรา 25 วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ และการตรากฎหมายที่เป็นการจำกัดสิทธิหรือ เสรีภาพ ต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 มาตรา 26 คือ ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ใน รัฐธรรมนูญ ในกรณีที่รัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติเงื่อนไขไว้ กฎหมายดังกล่าวต้องไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม ไม่เพิ่มภาระ หรือจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุและจะกระทบต่อศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ของบุคคลมิได้ รวมทั้งต้องระบุเหตุผลความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพไว้ ด้วย เมื่อพิจารณาจากบทบัญญัติที่รับรองสิทธิและเสรีภาพในการเดินทางและการเลือกถิ่นที่อยู่ ซึ่งได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญซึ่งบัญญัติไว้ใน มาตรา 38 พบว่ามีเงื่อนไขเฉพาะของกฎหมาย ที่ให้อำนาจรัฐในการจำกัดเสรีภาพในการเดินทางได้ ดังนี้ 1. เพื่อความมั่นคงของรัฐ คำว่า ความมั่นคงของรัฐนั้นมักไม่มีคำนิยามไว้ว่าเป็นอย่างไร แม้กระทั่งในกฎหมาย รัฐธรรมนูญของนานาประเทศ และแม้ในประเทศที่เห็นว่าความมั่นคงเป็นเรื่องสำคัญ เช่น สหรัฐอเมริกา ในรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่น ๆ ก็ไม่มีคำนิยามของคำว่าความมั่นคงของรัฐไว้ โดยนักกฎหมายอเมริกันที่มีชื่อเสียง เช่น ผู้พิพากษาเจมส์ อี เบเคอร์ (Jame E. Baker) ซึ่งได้รับการ แต่งตั้งให้เป็นผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ในแผนกที่มีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับกองทัพในปี ค.ศ. 2000 ก็กล่าวว่า เป็นการยากที่จะให้คำนิยามคำว่า ความมั่นคงของรัฐหรือชาติ อย่างไรก็ตามได้มีผู้ที่พยายามให้คำนิยามคำว่าความมั่นคงของรัฐไว้ ดังนี้ ความมั่นคงของรัฐ ห รื อ ช า ติ ห รื อ ส ภ า ว ะ ที่ ป ล อ ด จ า ก ภั ย คุ ก ค าม ภ า ย ใน รั ฐ ทั้ งจ า ก ภ า ย น อ ก ป ร ะ เท ศ และจากภายในประเทศ คือสภาวะที่ปลอดจากภัยคุกคามภายในรัฐทั้งจากภายนอกประเทศ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3