การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

30 และจากภ าย ในประ เทศ นอกจากนั้น มีแนวความ คิด เพิ่ม เติมว่ารัฐสมัย ใหม่ประชาชน ต้องมีความมั่นคงทางด้านความปลอดภัยในด้านอื่น ๆ ที่เป็นเรื่องความจำเป็นพื้นฐาน เช่นการเข้าถึง อาหารและน้ำที่สะอาด มีความมั่นคงทางด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม การได้รับการปกป้อง จากการสูญเสียทางเศรฐกิจ การได้รับความคุ้มครองจากการใช้ความรุนแรงตามอำเภอใจ โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐและอื่น ๆ ในประเทศไทยนั้นมีผู้อธิบายคำว่าความมั่นคงแห่งชาติไว้คือ พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ ซึ่งกล่าวว่า ความมั่นคงแห่งชาติหมายถึงการทรงตัวอยู่อย่างแน่นหนาถาวร ดำรงเอกราช มีเสรีภาพ แห่งชาติ มีความสงบสุขภายในประเทศ มีความแน่นอนในชีวิตเศรษฐกิจของพลเมือง สามารถ คาดหมายรายได้ของรัฐได้ถูกต้อง ใกล้เคียงกับความเป็นจริง ค่าของเงินตรามีเสถียรภาพ รัฐไม่ต้อง ประสบความยุ่งยากระส่ำระส่าย ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ได้ง่าย ผู้คนพลเมืองรู้สึก มีความปลอดภัยมีความหวังและความไว้วางใจในอนาคต และยังกล่าวต่อไปอีกว่า ถึงแม้ความผันผวน หรือเหตุร้ายอันใดจะเกิดขึ้นมา รัฐสามารถจะต่อสู้หรือป้องกันได้ และได้จำแนกความมั่นคงแห่งชาติ ออกเป็น 4 ด้านตามลักษณะภารกิจที่ชาติจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของชาติคือ ความมั่นคงแห่งชาติด้านการเมือง ความมั่นคงแห่งชาติด้านเศรษฐกิจ ความมั่นคงแห่งชาติด้านสังคม จิตวิทยา และความมั่นคงแห่งชาติด้านทหาร (เสาวนีย์ อัศวโรจน์, 2552) ในคำป รารภของน โยบ ายความมั่นค งแห่ งชาติ พ .ศ . 2558 – 2564 ซึ่งออก โดย สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (2558) ได้กล่าวถึงความมั่นคงแห่งชาติว่า ปัจจุบันภัยคุกคาม ต่อความมั่นคงรูปแบบใหม่ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนและประเทศชาติมีความซับซ้อนและ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น การก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ภัยจากโรคอุบัติใหม่ ความมั่นคงของชาติจึงมิได้ครอบคลุมเฉพาะมิติด้านการทหารหรือ อำนาจอธิปไตยเท่านั้น แต่ยังเป็นรากฐานของการดำเนินกิจกรรมที่ครอบคลุมทุกบริบททั้งทาง เศรษฐกิจ สังคม วิถีชีวิต และวัฒนธรรมของผู้คนภายในรัฐ จากนิยามดังกล่าวจึงเห็นได้ว่า ความมั่นคงแห่งรัฐหรือแห่งชาติ หมายถึงความปลอดภัย ของรัฐทุกบริบทที่จะไม่เสียสิ่งที่รัฐมี ทั้งด้านดินแดน เศรษฐกิจ สังคม การเมือง การทหาร พลังงาน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม สุขอนามัย และอาหาร ฯลฯ 2. เพื่อความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพของประชาชน ความสงบเรียบร้อยของประชาชนเป็นคำที่มีความหมายอย่างกว้างและเป็นเรื่องยาก ที่จะให้คำจำกัดความที่ชัดเจนแน่นอน แต่ก็เป็นที่ยอมรับกันว่า เป็นข้อห้ามซึ่งสังคมบังคับแก่เอกชน เพื่อสังคมจะได้ดำรงอยู่ได้ เพื่อคุ้มครองปกป้องรักษาเอกชนซึ่งอยู่ในสังคมนั้นเอง ความสงบเรียบร้อย ของประชาชนจึงเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์โดยทั่วไปของประเทศชาติหรือประชาชน โดยส่วนรวม มิใช่ของเอกชนคนใดหมู่ใดโดยเฉพาะ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3