การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

32 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้เพิ่มเติมข้อยกเว้นของการจำกัด เสรีภาพในการเดินทางและการเลือกถิ่นที่อยู่ให้รวมถึงการรักษาสถานภาพของครอบครัว (คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ, 2562) คำนี้ไม่เคยปรากฏคำนี้ในรัฐธรรมนูญฉบับก่อน ๆ ซึ่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ได้ให้ความหมายไว้ว่า สถานภาพ หมายถึง สิทธิหน้าที่ตามบทบาทของบุคคล และคำว่า ครอบครัว หมายถึง สถาบันพื้นฐานของสังคมที่ประกอบด้วยสามีภรรยา และหมายความรวมถึง ลูกด้วย ซึ่งเมื่อพิจารณาคำว่า บุคคลในครอบครัว มีความหมายว่า ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน คู่สมรส คู่สมรสเดิม ผู้ที่อยู่กินหรือเคยอยู่กินฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส บุตรบุญธรรม รวมทั้งบุคคลใดๆ ที่ต้องพึ่งพาอาศัยและอยู่ในครัวเรือนเดียวกัน (พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนา และคุ้มครองสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2562, 2562) ดังนั้นถ้อยคำว่าสถานภาพครอบครัว จึงหมายถึง บทบาทหน้าที่ของสถาบันครอบครัวซึ่งรวมถึงบุคคลทั้งหมดซึ่งอยู่รวมกันในครัวเรือนเดียวกัน หรือเกี่ยวพันกันทางสายโลหิต หรือกรณีเป็นสามีภรรยานั้นหมายความรวมถึงทั้งตามกฎหมายและ ตามพฤตินัย 5. เพื่อสวัสดิภาพของผู้เยาว์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะ เมื่อมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์ ดังนั้นผู้เยาว์จึงหมายถึงบุคคลที่อายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ (ประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 19) โดยหลักแล้วการคุ้มครองสวัสดิภาพบุคคลตามกฎหมาย ย่อมใช้บังคับได้เป็นการทั่วไปกับทุกบุคคล แต่ด้วยเป็นการสมควรกำหนดขั้นตอนและปรับปรุงวิธีการ ปฏิบัติต่อเด็กให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อให้เด็กได้รับการอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน และมีพัฒนาการที่ เหมาะสม อันเป็นการส่งเสริมความมั่นคงของสถาบันครอบครัว รวมทั้งป้องกันมิให้เด็กถูกทารุณกรรม ตกเป็นเครื่องมือในการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ หรือถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม จึงมีการ คุ้มครองเด็กตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2556 โดยเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิ และเสรีภาพส่วนบุคคลตามรัฐธรรมนูญ 2.4 แนวคิดเกี่ยวกับกฎหมายคนเข้าเมือง 2.4.1 วิวัฒนาการกฎหมายคนเข้าเมือง เพื่อทำความเข้าใจประวัติความเป็นมาของกฎหมายคนเข้าเมือง จึงขอหยิบยกการเกิดขึ้น ของกฎหมายคนเข้าเมืองของประเทศไทยเปรียบเทียบกับการเกิดขึ้นของกฎหมายคนเข้าเมือง ของประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อให้ได้เข้าใจถึงเจตนารมย์ของการบัญญัติกฎหมายคนเข้าเมือง ของแต่ละประเทศ วิวัฒนาการกฎหมายคนเข้าเมืองประเทศไทย

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3