การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

34 เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460 ห้ามมิให้สตรีและเด็กเดินทางไปยังประเทศอังกฤษและประเทศ ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน กับในเขตน่านน้ำที่มีการสงคราม ต่อมา ในปี พ.ศ. 2463 ได้มีการตราพระราชบัญญัติว่าด้วยการเดินทางเข้าออกใน พระราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2463 อันมีหลักการและเหตุผลในการตราพระราชบัญญัติ ดังกล่าวโดยสรุปได้ว่า เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าวนั้นมีคนต่างด้าวที่ไม่สมควรเข้ามาอาศัยอยู่ใน ประเทศไทยเป็นจำนวนมาก จึงได้ตราพระราชบัญญัติดังกล่าวนี้เพื่อรักษาความสงบสุขของประชาชน โดยมีสาระสำคัญของพระราชบัญญัติดังกล่าว คือ บุคคลที่จะเดินทางเข้าออกประเทศไทย โดยเฉพาะ อย่างยิ่งคนต่างด้าวนั้น ต้องมีการตรวจตราเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันมิให้คนต่างด้าวซึ่งเป็นบุคคลไม่พึง ปรารถนาเข้ามาในประเทศไทย อีกทั้งเป็นการป้องกันประชาชนคนไทยมิให้ถูกล่อลวงจากคนร้ายที่จะ ชักชวนออกนอกประเทศซึ่งจะนำไปสู่การคบหาสมาคมคนร้ายดังกล่าว หรืออาจเป็นเหตุให้ผู้ที่ชักชวน นั้นเปลี่ยนแปลงสัญชาติโดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือประชาชนดังกล่าวนั้นอาจจะตกระกำลำบาก หาที่พึ่งไม่ได้ (วัชรพล สว่างแผ้ว, 2545) พ.ศ. 2470 สถานการณ์บ้านเมืองของประเทศไทยหรือสยามในช่วงนี้ เป็นช่วงที่มีการ พัฒนาประเทศมากมาย อิทธิพลสังคมตะวันตกเริ่มเข้ามาบทบาทในสังคมไทยมากขึ้น เริ่มมีแนวคิด เกี่ยวกับรัฐสมัยใหม่ และอำนาจอธิปไตย อันทำให้ประเทศไทย หรือสยามจะต้องมีการพัฒนา และปรับปรุงในหลาย ๆ ด้าน หนึ่งในนั้นก็คือ การปรับปรุงกฎหมาย นอกจากนี้ การอพยพเข้ามา ของชาวจีนเป็นจำนวนมาก และเริ่มมีอิทธิพลและบทบาทในสังคมไทย อีกทั้งไม่มีการควบคุม คนเข้าเมือง จึงเริ่มมีแนวคิดเกี่ยวกับการจำกัด และการตรวจตราการเข้าเมืองของคนต่างด้าว ทำให้รัชกาลที่ 7 ทรงมีแนวคิดที่จะตรากฎหมายเพื่อจัดการประชากรคนเข้าเมืองของประเทศสยาม ดั งนั้น พ ระบ าทสม เด็จพ ระป รมินท รมห าป ระช าธิป ก พ ระป ก เกล้ า เจ้ าอยู่หั ว จึ งได้มี พระบรมราชโองการให้มีการจัดวางระเบียบกำกับตรวจตราคนต่างด้าว เข้าเมืองมาประเทศไทย จึงได้ตราพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2470 โดยให้มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2470 อันเป็นการใช้ชื่อกฎหมายว่าพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง เป็นครั้งแรก โดยมีทั้งสิ้น 18 มาตรา และต่อมาก็ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมอีก 3 ครั้ง โดย พระราชบัญญัติคนเข้าเมืองแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2474 , พระราชบัญญัติคนเข้าเมืองแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2475 และ พระราชบัญญัติคนเข้าเมืองแก้ไข เพิ่มเติม พ.ศ. 2477 (ปุณฑวิชญ์ ฉัตรมงคลชาติ, 2553) กฎหมายคนเข้าเมืองฉบับนี้ได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานมีอำนาจตรวจคนต่างด้าวและ พาหนะทั้งปวงที่เข้ามาสู่ประเทศสยาม มีการกำหนดเงื่อนไขห้ามคนต่างด้าวซึ่งมีลักษณะต้องห้าม เข้ามาในประเทศสยามไว้ 5 ลักษณะ อยู่ในมาตรา 6 ได้แก่ (1) บุคคลซึ่งไม่มีหนังสือเดิรทางฤๅใบสำคัญแสดงสัญชาติอันถูกต้องที่ออกให้โดยรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลสยามได้รับรองแล้ว

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3