การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

36 ได้ถูกบัญญัติขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1789 ให้อำนาจรัฐสภามีอำนาจปกครองและควบคุมการค้าของ คนต่างด้าว แต่มิได้ระบุให้ชัดเจนว่าการค้าของคนต่างด้าวนั้นครอบคลุมถึงการเข้าเมืองด้วยหรือไม่ จนกระทั่งปี ค .ศ . 1875 ศาลชั้นต้นแห่ งเมืองเฮน เดอร์สัน มลรัฐนิวยอร์ค ได้ประกาศว่า การตรวจคนเข้าเมืองมิได้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งถือเป็นการละเมิดอำนาจของสหพันธรัฐทางด้าน การค้าขายของคนต่างด้าว ในช่วงระยะเวลาอันยาวนานของการที่ไม่มีบทบัญญัติที่แน่ชัดนี้ รัฐสภาก็มิได้พยายามที่จะเรียกร้องให้มีการวางกฎเกณฑ์ในเรื่องของการเข้าเมือง จนกระทั่งปี ค.ศ. 1798 สหรัฐอเมริกาได้เริ่มใช้กฎหมายคนเข้าเมืองฉบับแรก เรียกว่า Alien Act,1798 ซึ่งได้ให้ อำนาจประธานาธิบดีขับไล่คนต่างด้าวซึ่งเป็นอันตรายต่อสหรัฐอเมริกา แต่อย่างไรก็ตาม พระราชบัญญัติดังกล่าวก็มีผลบังคับใช้เพียงแค่ 2 ปีเท่านั้น และในปี ค.ศ. 1819 ค.ศ. 1847 ค.ศ. 1848 และ ค.ศ. 1855 ได้มีพระราชบัญญัติ “ผู้ผ่านเมือง” (Passenger acts) ซึ่งได้กำหนด บทบัญญัติเบื้องต้นสำหรับเรือบรรทุกสินค้าต่างชาติ กล่าวโดยสรุป ในช่วงปี ค.ศ. 1820 ถึงปี ค.ศ. 1880 นโยบายของสหรัฐอเมริกาให้การสนับสนุนการเข้าเมือง เนื่องจากประเทศสหรัฐอเมริกามี พรมแดนที่กว้างขวางประกอบกับความต้องการแรงงานต่างด้าวมีจำนวนมาก ภายหลังสงครามกลางเมือง กฎหมายแห่งสหพันธรัฐเริ่มสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการ บังคับใช้ในเรื่องของการเข้าเมืองในกลุ่มคนเฉพาะกลุ่ม ในปี ค.ศ. 1864 เริ่มถูกยกขึ้นกล่าวถึง อีกครั้งหนึ่ ง และในปี ค .ศ . 1875 รัฐสภ าได้ ให้อำนาจอย่างชัดแจ้งใน เรื่องการ เข้า เมื อ ง ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการผ่านรัฐสภา โดยพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ถูกหยิบยืมมาจากกฎหมาย ของพวกอาณานิคมในยุคต้น ๆ ในเรื่องของการห้ามนักโทษและบรรดาหญิงโสเภณี จนกระทั่งปี ค.ศ. 1882 รัฐสภาได้มีการบัญญัติให้การเข้าเมืองอยู่ในการควบคุมของสหพันธรัฐ นับเป็น พระราชบัญญัติฉบับที่สองซึ่งบัญญัติขึ้น อาจกล่าวได้ว่าเป็นพระราชบัญญัติทั่วไปฉบับแรก ของสหพันธรัฐว่าด้วยการเข้าเมือง ซึ่งสาระสำคัญของพระราชบัญญํตินี้บัญญัติห้ามพวกนักโทษหรือ หญิงค้าประเวณี เข้าประเทศ อีกทั้งยังมีการเก็บภาษีสำหรับบุคคลที่พึ่งเดินทางเข้ามาใน สหรัฐอเมริกาเป็ฯครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1924 อนุญาตให้คนต่างด้าวสัญชาติต่าง ๆ เข้าเมืองได้ ภายในข้อจำกัดโควตาคนเข้าเมือง โดยกำหนดหลักการอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้าเมืองในโควต าของ คนแต่ละสัญชาติได้จำนวนไม่เกินร้อยละ 3 ของจำนวนคนต่างด้าวที่จะได้รับอนุญาตให้เป็น คนเข้าเมืองสัญชาติต่าง ๆ นี้ จะต้องไม่เกินปีงบประมาณละ 170,000 คน ในปี ค.ศ. 1952 ได้การออกพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองและสัญชาติ ฉบับปี ค.ศ. 1952 (The Immigration and Nationality Act of 1952) ซึ่งถือเป็นพื้นฐานของกฎหมายคนเข้าเมือง ฉบับปัจจุบัน โดยยังคงรักษาระบบจำกัดจำนวน (ระบบโควตา) แต่มีการคำนวณที่แตกต่างกันออกไป โดยแบ่งประเภทเป็น 4 ประเภทของความต้องการ เช่น จะต้องเป็นบุคคลที่มีทักษะและประสบการณ์ ทางเศรษฐกิจ หรือจะต้องเป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชนสหรัฐอเมริกา

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3