การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

37 ในปี ค.ศ. 1990 สภาคองเกรสได้ทำการแก้ไขพระราชบัญญัติการเข้าเมืองและ พระราชบัญญัติแห่งชาติ (INA) จำนวนมาก เพราะพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้เปลี่ยนแปลงข้อกำหนด ต่าง ๆ ของพระราชบัญญัติฉบับก่อน ซึ่งถือเป็นการแก้ไขครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ การเปลี่ยนแปลง ที่เด่นชัดที่สุด คือการเพิ่มจำนวนคนเมืองทั่วโลก โดยได้กำหนดโควตาไว้จำนวน 700,000 คนต่อปี ในปี ค.ศ. 1992 ค.ศ. 1994 และ ค.ศ. 1994 หลังจากนั้นได้ลดจำนวนลงเหลือจำนวน 675,000 คน ต่อปี พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ที่จะดึงดูดเฉพาะบุคคลที่มีความชำนาญการศึกษา และเงินให้เข้ามาในประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังมีการกำหนดกฎเกณฑ์ในการเนรเทศ เปลี่ยนแปลงการให้การตรวจลงตรา (Visa) ในการทำงาน โดยแบ่งการจ้างงานเป็น 5 ประเภท คือ ประเภทแรกเป็นการจ้างแรงงานที่ใช้ความรู้ความสามารถพิเศษ เช่นนักเรียนทุน ผู้บริหารต่างชาติ อาจารย์และอื่น ๆ ประเภทที่สองเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถพิเศษในด้านวิทยาศาสตร์หรือ ศิลปะ ประเภทที่สามเป็นบุคคลที่เป็นมืออาชีพที่มีความชำนาญและไม่มีความชำนาญ โดยกำหนด จำนวนไว้ 100,000 คน ประเภทที่สี่เป็นบุคคลที่ทำงานด้านศาสนาและพนักงานของที่เผยแพร่ศาสนา ของสหรัฐอเมริกาในประเทศฮ่องกง ประเภทที่ห้า มีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างงาน โดยสนับสนุนให้คน ต่างชาติเข้ามาลงทุนอย่างน้อย 1 ล้านเหรียญสหรัฐ และจ้างคนงานอเมริกาอย่างน้อย 10 คน ในปี ค.ศ. 1996 ได้มีการออกพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองและสัญชาติ ฉบับปี ค .ศ. 1996 (The Immigration and Nationality Act of 1996) ซึ่งเป็นกฎหมายคนเข้าเมืองฉบับปัจจุบันได้มี สาระสำคัญในการกำหนดลักษณะต้องห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้าเมือง มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนคนเข้า เมืองสัญชาติต่างๆ ในแต่ละปี ตลอดจนเปิดโอกาสให้คนที่มีความรู้ความสามารถ นักลงทุน แรงงานที่ มีความรู้ความชำนาญและจำเป็น นอกจากนี้ยังเพิ่มระบบการตรวจสอบบุคคลที่มีลักษณะต้องห้าม ก่อนเดินทางเข้าประเทศในระหว่างการขอรับการตรวจลงตรา (Visa) อีกด้วย ซึ่งมาตรการดังกล่าวได้ มีส่วนช่วยในการตรวจสอบบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามและเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ สหรัฐอเมริกาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ได้มีเวลาในการตรวจสอบประวัติ ต่าง ๆ ก่อนยื่นคำขอรับการตรวจลงตรา (วีระชัย ถิ่นกมุท, 2554) จากวิวัฒนาการกฎหมายคนเข้าเมืองของทั้งสองประเทศ จึงเห็นได้ว่า กฎหมายคนเข้าเมือง ของแต่ละประเทศนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อกีดกันคนต่างด้าวไม่ให้เดินทางเข้าประเทศตนหรืออนุญาต ให้คนต่างด้าวเดินทางเข้ามาในประเทศตนตามแต่บริบทความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม ของประเทศ ในขณะนั้น 2.4.2 แนวคิดในกำหนดหลักเกณฑ์การเข้าเมือง แม้มนุษย์ทุกคนจะมีเสรีภาพในการเดินทางออกจากประเทศใด ๆ ก็ตามดังได้กล่าวมาแล้ว แต่ก็ใช่ว่าจะสามารถเดินทางเข้าประเทศอื่นๆ ได้โดยเสรี ในทางกฎหมายระหว่างประเทศ สิทธิของ คนต่างด้าวในประเทศซึ่งตนไม่ใช่คนชาตินั้น ได้รับการพัฒนาและคุ้มครองเรื่อยมา โดยปรากฏ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3