การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
38 หลักฐานแห่งความพยายามผลักดันในระดับนานาชาติใน Declaration on the Human Rights of Individuals Who are not Nationals of the Country in which They Live. (1985) ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนของบุคคลซึ่งไม่ได้ถือสัญชาติของประเทศที่พวกเขาอาศัยอยู่นั้น ถูกหยิบยกขึ้นมาครั้งแรกในสมัยที่ 25 ของคณะอนุกรรมการป้องกันการเลือกปฏิบัติและการคุ้มครอง ชนกลุ่มน้อยในปี ค.ศ. 1972 ในสมัยที่ 30 ของการประชุมในปี ค.ศ. 1977 คณะอนุกรรมการได้ขอให้เลขาธิการเสนอร่าง ประกาศที่มีอยู่ในภาคผนวกของการศึกษาวิจัยดังกล่าวเพื่อพิจารณาและแสดงความคิดเห็นต่อรัฐบาล ร่างประกาศซึ่งส่งผ่านสภาเศรษฐกิจและสังคมไปยังสมัชชาใหญ่ ได้รับการพิจารณาโดย คณะทำงานปลายเปิดของคณะกรรมการที่สามระหว่างปี ค.ศ.1980 - 1985 กระทั่งวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1985 สมัชชาใหญ่ได้รับรองโดยไม่มีการลงคะแนนเสียง ปฏิญญายอมรับว่าการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่มีให้ในตราสาร ระหว่างประเทศควรได้รับการประกันสำหรับบุคคลที่ไม่ใช่คนชาติของประเทศที่พวกเขาอาศัยอยู่ ปฏิญญานี้ประกอบด้วยเนื้อหาทั้งหมด 10 ข้อ ได้แก่การให้คำจำกัดความบุคคล ที่ไม่ใช่คนชาติของรัฐที่อาศัย (“คนต่างด้าว” ข้อ 1) , ข้อกำหนดให้รัฐต้องเผยแพร่กฎหมายหรือ ข้อบังคับของรัฐที่มีผลกระทบต่อคนต่างด้าว (ข้อ 3) และให้รายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ที่คนต่างด้าวจะได้รับตามกฎหมายภายในประเทศและตราสารระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง (ข้อ 5 , 6, 7, 8, 9 และ 10) (Audiovisual Library of International Law, ม.ป.ป.) โดยหลักการที่สำคัญประการ ประการหนึ่งเกี่ยวกับกฎหมายภายในของรัฐ ถูกรับรองไว้ใน ข้อ 2 ของปฏิญญา มีเนื้อหาว่า ข้อ 2 1. ไม่มีข้อความใดในปฏิญญาฉบับนี้ที่จะตีความได้ว่าการเข้ามาและปรากฏตัวของ คนต่างด้าวใด ๆ อย่างผิดกฎหมายในรัฐนั้นเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมาย หรือบทบัญญัติใด ๆ ของปฏิญญานี้ จะไม่ถูกตีความว่าเป็นการจำกัดสิทธิของรัฐใด ๆ ในการออกกฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับการเข้ามา ของคนต่างด้าว รวมทั้งข้อกำหนดและเงื่อนไขของการเข้าพักหรือเพื่อสร้างความแตกต่างระหว่าง คนชาติและคนต่างด้าว อย่างไรก็ตามกฎหมายและข้อบังคับดังกล่าวจะไม่ขัดกับพันธกรณี ทางกฎหมายระหว่างประเทศของรัฐนั้นรวมทั้งกฎหมายด้านสิทธิมนุษยชน 2. ปฏิญญานี้ต้องไม่กระทบกระเทือนการใช้สิทธิตามกฎหมายภายในและสิทธิซึ่งอยู่ ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศที่รัฐต้องปฏิบัติตามต่อคนต่างด้าว แม้ว่าปฏิญญานี้จะไม่ได้รับรอง สิทธิดังกล่าวหรือยอมรับในขอบเขตที่น้อยกว่าก็ตาม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3