การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
39 ดังนั้นเห็นได้ว่า กฎหมายคนเข้าเมืองแต่ละประเทศ ย่อมเป็นสิทธิขาดของแต่ละประเทศ ที่จะตรากฎหมายภายเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการให้คนเดินทางเข้าออกประเทศของตน ได้ตราบเท่าที่ไม่ขัดกับพันธกรณีทางกฎหมายระหว่างประเทศของรัฐนั้นรวมทั้งกฎหมายด้านสิทธิ มนุษยชน เพื่อทำความเข้าใจว่าในแต่ละประเทศนั้นมีหลักเกณฑ์ในการกำหนดให้บุคคล เดินทางเข้าประเทศอย่างไรบ้าง จึงขอยกตัวอย่างบทกฎหมายคนเข้าเมืองของประเทศไทย เปรียบเทียบกับบทกฎหมายคนเข้าเมืองของประเทศสหรัฐอเมริกา ดังนี้ บทบัญญัติห้ามเดินทางเข้าราชอาณาจักรไทย ประเทศไทยมีกฎหมายคนเข้าเมืองที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน คือ พระราชบัญญัติ คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ลักษณะทั่วไปของกฎหมายคนเข้าเมืองนี้มีขอบเขตครอบคลุมกว้างขวาง ทั้งในเรื่องตัวบุคคล พาหนะ และสถานที่ กล่าวคือบุคคลนั้นได้แก่คนเข้าเมือง เจ้าของพาหนะ ผู้ควบคุมพาหนะ คนประจำพาหนะ เจ้าบ้าน ผู้จัดการโรงแรม ในแง่นี้พบว่ากฎหมายคนเข้าเมืองได้มี เจตนารมณ์ในอันที่จะควบคุมตรวจสอบคนต่างด้าวตั้งแต่ขั้นตอนการเดินทางเข้ามาราชอาณาจักร การเข้ามาพำนักในราชอาณาจักร จนกระทั่งถึงการเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร สภาพการใช้กฎหมายพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ด้วยกฎหมายฉบับนี้มี สถานภาพเป็นพระราชบัญญัติที่มีโทษทางอาญา ซึ่งต้องนำความในมาตรา 17 แห่งประมวลกฎหมาย อาญามาใช้บังคับด้วย กล่าวคือ การใช้กฎหมายคนเข้าเมืองต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติในภาค 1 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ยกเว้นแต่จะมีบทบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น นอกจากนี้การใช้กฎหมาย คนเข้าเมืองยังต้องคำนึงถึงกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องและมีความสัมพันธ์กัน และกฎหมายลำดับรอง ควบคู่กันไปด้วย อาทิ พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 , พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 พระราชบัญญัติการทะเบียนของคนต่างด้าว พ.ศ.2493 เป็นต้น (พงษ์นคร นครสันติภาพ, 2552) บทบัญญัติในการห้ามเข้าประเทศนั้น ได้กำหนดลักษณะบุคคลห้ามเข้าประเทศไทยไว้ เพียงมาตราเดียว คือ มาตรา 12 ดังนี้ มาตรา 12 ห้ามมิให้คนต่างด้าวซึ่งมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้เข้ามาใน ราชอาณาจักร (1) ไม่มีหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางอันถูกต้องและยัง สมบูรณ์อยู่ หรือมีแต่ไม่ได้รับการตรวจลงตราในหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง เช่นว่านั้นจากสถานทูตหรือสถานกงสุลไทยในต่างประเทศหรือจากกระทรวงการต่างประเทศ เว้นแต่กรณีที่ไม่ต้องมีการตรวจลงตราสำหรับคนต่างด้าวบางประเภทเป็นกรณีพิเศษ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3