การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
44 2.5 หลักกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ จากแนวคิดและวัตถุประสงค์ของกฎหมายคนเข้าเมืองมุ่งเน้นถึงการควบคุมคนต่างด้าว ในการเดินทางเข้าประเทศ และจะไม่ปฏิเสธคนชาติของตนในการเดินทางกลับเข้าสู่ประเทศ จึงต้องพิจารณาถึงหลักการ ที่มา และความหมาย ของสัญชาติของบุคคล 2.5.1 แนวความคิดว่าด้วยสัญชาติและหลักกฎหมายว่าด้วยสัญชาติของบุคคล ความหมายของสัญชาติ สัญชาติของบุคคลธรรมดานั้น รัฐทุกรัฐมีอธิปไตยและเขตอำนาจรัฐ และแต่ละรัฐ ประกอบขึ้นด้วยการรวมกลุ่มกันของปัจเจกชน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีความเชื่อมโยงกันในทาง กฎหมายระหว่างรัฐกับปัจเจกชน ซึ่งรวมกันอยู่ในดินแดนของรัฐ ตามแนวความคิดว่าด้วยสัญชาติ ซึ่งถือว่าสัญชาติ (Nationality) เป็นสิ่งเชื่อมโยงในทางกฎหมายระหว่างรัฐกับบุคคลสัญชาติของรัฐ หรือที่เรียกว่าคนชาติ และความเชื่อมโยงนี้เองก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่ในระหว่างรัฐและคนชาติ กล่าวคือ บุคคลถือสัญชาติของรัฐใดก็ย่อมมีสิทธิหรือได้รับประโยชน์ต่างๆ เช่น มีสิทธิถือหนังสือ เดินทาง (Passport) ของรัฐที่ตนถือสัญชาติ และได้รับความคุ้มครองจากรัฐเจ้าของสัญชาติ ในทางกลับกันบุคคลก็มีหน้าที่ เช่น หน้าที่ที่จะต้องจงรักภักดีต่อรัฐซึ่งตนถือสัญชาติ (จิตรา เพียรล้ำ เลิศ, 2548) ในแง่มุมของกฎหมายระหว่างประเทศ บุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศนั้นหมายถึง ผู้ที่สามารถมีสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดตามกฎหมายระหว่างประเทศ เช่น สิทธิที่จะทำสนธิสัญญา สิทธิที่จะเรียกร้องจากบุคคลอื่นในกฎหมายระหว่างประเทศที่ทำให้บุคคลนั้นเสียหาย หรือมีหน้าที่ ที่จะต้องเคารพกฎเกณฑ์และพันธกรณีตามสนธิสัญญาที่ทำไว้กับบุคคลอื่นๆในกฎหมายระหว่าง ประเทศหรืออาจต้องรับผิดเมื่อทำให้บุคคลอื่นได้รับความเสียหาย ซึ่งโดยไปแล้ว บุคคลในกฎหมาย ระหว่างประเทศที่สามารถมีสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดข้างต้นได้ ก็คือ รัฐ (States) และ องค์การ ระห ว่ างป ระ เท ศ (International Organizations) เป็นห ลัก น อกจ ากนั้ น แล้ ว ปั จ เจกช น (Individuals) หรือบริษัทข้ามชาติ (Transnational corporations) ก็อาจมีสิทธิและหน้าที่บาง ประการในกฎหมายระหว่างประเทศได้ ในกฎหมายระหว่างประเทศได้กำหนดการมี “สภาพบุคคล” (Personality) ของรัฐไว้ว่า ต้องประกอบด้วย ประชากร (Population) ดินแดน (Territory) รัฐบาล (Government) (จุมพต สายสุนทร, 2565) จากองค์ประกอบข้างต้น ประชาชนถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการเป็นรัฐ สิ่งที่จะ เป็นเครื่องบ่งบอกว่าประชากรนั้นเป็นคนของรัฐใดก็คือ “สัญชาติ” (กัญญา หิรัณย์วัฒนพงศ์, 2549) คำว่า “สัญชาติ” นั้น มีผู้ให้ความหมายไว้หลายท่าน เช่น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3