การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
45 พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 (2554) ได้ให้ความหมายของสัญชาติ ว่าหมายถึง ความเกิด การเป็นขึ้น ความอยู่ในบังคับ คือ อยู่ในความปกครองของประเทศชาติเดียวกัน และ สถานะตามกฎหมายของบุคคลที่แสดงว่าเป็นพลเมืองหรือคนในบังคับของประเทศใด ประเทศหนึ่ง หลวงประดิษฐมนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) (2474) ให้ความหมายไว้ว่า สัญชาติ หมายถึง การเป็นพลเมืองของประเทศ ดร.สญชัย นินนาท (2551) ได้ให้ความหมายว่า สัญชาติ คือ สิ่งผูกพันทางกฎหมายและ ทางการเมืองอันมีลักษณะถาวร ซึ่งยึดเหนี่ยวบุคคลไว้กับรัฐหนึ่ง กำหนดขึ้นโดยกฎหมายของรัฐนั้น โดยการที่รัฐยอมรับข้อเท็จจริงว่าบุคคลผู้นั้นผูกพันใกล้ชิดกับรัฐของตนมากกว่ารัฐอื่น และได้อ้างถึง คณะกรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ ว่าได้ให้ความหมายของสัญชาติ ว่า หมายถึง สถานะของบุคคลธรรมดา ซึ่งถูกยึดเหนี่ยวอยู่กับรัฐหนึ่ง โดยสิ่งผูกพันนั้นเรียกว่าความ จงรักภักดี รองศาสตราจารย์ ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนจิตรา สายสุนทร (2548) ได้อธิบายว่า คำว่า “สัญชาติ” เป็นถ้อยคำทางกฎหมายซึ่งหมายความว่า ความสัมพันธ์ในทางกฎหมายระหว่างปัจเจกชน คนหนึ่งกับรัฐ ๆ หนึ่ง ในลักษณะที่ปัจเจกชนตกอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยในทางบุคคลของรัฐนั้น สัญชาติจึงเป็นนิติสัมพันธ์ระห่วางรัฐและเอกชนที่ก่อให้เกิด “คนชาติ” แก่บุคคลผู้เป็นคู่กรณีใน นิติสัมพันธ์ นฤมล ฐานิสโร (2561) ให้ความหมายว่า สัญชาติ หมายถึง สิ่งที่เป็นเครื่องผูกพัน ทางการเมืองระหว่างรัฐผู้ให้สัญชาติกับคนชาติ จากความหมายของคำว่าสัญชาติ ดังได้กล่าวมาแล้ว สัญชาติจึงมีความสำคัญในฐานะ ที่ถือเป็นเครื่องมือที่แสดงความผูกพันทางกฎหมาย ระหว่างบุคคลคนหนึ่งกับรัฐรัฐหนึ่ง ซึ่งบุคคลนั้น ตกอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยในทางบุคคลของรัฐ และจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายภายในของรัฐ รัฐจะรับรองความผูกพันดังกล่าวผ่านทางการตรากฎหมายโดยคำนึงถึงผลประโยชน์และความสงบ เรียบร้อยเพื่อรักษาสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลในรัฐตน ศาสตราจารย์ ดร.ชุมพร ปัจจุสานนท์ (2549) ได้สรุปลักษณะสำคัญของสัญชาติไว้ ดังนี้ (1) สัญชาติเป็นความผูกพันทางกฎหมายที่รัฐใช้ผูกพันคนเข้าไว้กับรัฐ (Legal bond, Lien juridique) ในลักษณะผูกมัดในทางกฎหมายที่จะให้บุคคลเข้ามาสังกัดอยู่ภายในรัฐ (2) ความผูกพันที่บุคคลมีอยู่ต่อรัฐ เป็นเงื่อนไขสำคัญของแนวคิดเกี่ยวกับสัญชาติ การที่บุคคลใดจะมีสัญชาติใด บุคคลนั้นต้องมีความใกล้ชิดกับรัฐนั้น ๆ ความผูกพันทางการเมือง ทางจิตใจ วัฒนธรรม ภาษา ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยของความผูกพันของบุคคลต่อรัฐทั้งสิ้น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3