การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

46 ความผูกพันนี้ก่อให้เกิดลักษณะทางสังคม เช่น พร้อมที่จะปกป้องพิทักษ์ผลประโยชน์ร่วมกัน มีความจงรักภักดีต่อประเทศหรือรัฐที่ตนสังกัดอยู่ (3) ผลแห่งความผูกพันที่บุคคลมีต่อรัฐ ทำให้บุคคลมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติต่อรัฐ โดยที่กฎหมายจะระบุถึงสิทธิและหน้าที่ในฐานะที่บุคคลนั้นมีสัญชาติของรัฐนั้น ๆ ในขณะเดียวกัน รัฐก็มีหน้าที่ตามกฎหมายระหว่างประเทศที่จะต้องปกป้องคนชาติของตน เมื่อคนชาติได้รับความ เสียหายจากการกระทำของรัฐอื่น (4) คำจำกัดความของสัญชาติในแง่มุมของกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง และกฎหมายภายในของแต่ละรัฐ แม้จะมีความคล้ายกัน แต่มีมุมมองที่ต่างกัน กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองมองว่าสัญชาติเป็นเครื่องผูกพันบุคคล ให้เข้ากับดินแดนเพื่อทำให้เกิดรัฐ รัฐจึงมีอำนาจเด็ดขาดที่จะกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับสัญชาติของคน ในเรื่องการได้มาและการเสียไปของสัญชาติ นอกจากนั้นสัญชาติก็ยังทำหน้าที่ที่จะแบ่งสรรบุคคล ในทางระหว่างประเทศอีกด้วย ว่าบุคคลใดสังกัดอยู่ในรัฐใด รัฐใดเป็นผู้ใช้อำนาจรัฐเหนือบุคคล (Personal jurisdiction) กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลมีมุมมองต่างไป โดยเฉพาะ หลักเกณฑ์ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายมีเป้าหมายแตกต่างจากกฎหมายระหว่างประเทศ แผนกคดีเมือง เพราะกฎหมายสาขานี้มุ่งที่จะพิจา รณาถึงความสัมพันธ์ของเอกชนในเชิง แพ่งและพาณิชย์ สัญชาติเป็นเพียงจุดเกาะเกี่ยวจุดหนึ่งที่มีความสำคัญที่จะบ่งบอกถึงความสัมพันธ์ที่ ใกล้ชิดกับบุคคลกับรัฐในหลักเกณฑ์ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย ส่วนในแง่ของกฎหมายภายในมักมี มุมมองในทิศทางที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับรัฐโดยกำหนดเงื่อนไขของการได้สัญชาติ การเสียสัญชาติ การกลับคืนสัญชาติ ฯลฯ บ่อเกิดของกฎหมายสัญชาติ ศาสตราจารย์ ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนจิตรา สายสุนทร (2548) อธิบายว่าแนวความคิดว่า ด้วยสัญชาติปรากฏอยู่ทั้งกฎหมายภายในและกฎหมายระหว่างประเทศ บ่อเกิดของกฎหมายสัญชาติตามกฎหมายภายใน ซึ่งในกฎหมายภายในของรัฐนั้น สัญชาติมีสถานะเป็นเงื่อนไขในการมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายภายในของรัฐ ดังนั้นแต่ละรัฐ จะมีกฎหมายว่าด้วยสัญชาติของตนเอง รัฐจะกำหนดถึงกฎเกณฑ์ 3 ประการในการกำหนดสัญชาติ กล่าวคือ กฎเกณฑ์กำหนดการได้สัญชาติ กฎเกณฑ์กำหนดการเสียสัญชาติ และกฎเกณฑ์กำหนด การได้กลับคืนสัญชาติ บ่อ เกิดของกฎหมายสัญ ชาติต ามกฎหมายระห ว่างป ระ เทศ หลักกฎหมาย ระหว่างประเทศรับรองว่าการกำหนดกฎหมายสัญชาติเป็นอำนาจภายในของรัฐ ( Domestic Jurisdiction of each State) โดยแท้ รัฐอื่น ๆ จึงเข้าแทรกแซงการใช้อำนาจอธิปไตยของรัฐ ในการนิติบัญญัติในเรื่องนี้ไม่ได้

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3