การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

47 หลักกฎหมายที่ว่าสัญชาติเป็นเขตอำนาจภายในของรัฐนี้ได้ถือว่าเป็นหลักกฎหมายจารีต ประเพณีระหว่างประเทศ ซึ่งรัฐต่าง ๆ ได้ถือแนวปฏิบัติกันมาและถือว่าสิ่งนี้เป็นกฎหมาย โดยพิสูจน์ ได้จากแนวปฏิบัติของรัฐที่มีบัญญัติเรื่องการได้มา และการเสียไปซึ่งสัญชาติ รัฐแต่ละรัฐจะเป็น ผู้กำหนดเอง ไม่มีรัฐใดสอดแทรกเข้าไปกำหนดการได้สัญชาติของบุคคลในรัฐอื่น หลักกฎหมายเช่นว่า นี้ได้ถูกกำหนดในรูปแบบของกฎหมายลายลักษณ์อักษรเพื่อทำให้เกิดความชัดเจน เช่น มาตรา 1 ของ The Convention on Certain Questions relating to the Conflict of Nationlity Laws 1930 ระบุ ว่ า รัฐแต่ละรัฐจะกำหนดว่ า ใคร เป็นค นช าติของตน โดยออก เป็นกฎหม ายภ าย ใน และกฎหมายภายในเช่นว่านี้ รัฐอื่นจะต้องยอมรับเท่าที่ไม่ขัดกับอนุสัญญาระหว่างประเทศ กฎหมายจารีตประเพณี และหลักกฎหมายทั่วไปอันเป็นที่ยอมรับในส่วนที่เกี่ยวกับสัญชาติ และในมาตรา 2 ของอนุสัญญาฉบับเดียวกันนี้ก็ได้กำหนดว่า ไม่ว่าปัญหาใดถ้าเกี่ยวกับการที่บุคคลจะ มีสัญชาติของรัฐใดหรือไม่นั้น ให้พิจารณาจากกฎหมายของรัฐนั้น (ชุมพร ปัจจุสานนท์, 2549) แนวคิดรัฐอธิปไตยเท่านั้นที่มีอำนาจในการให้สัญชาติแก่บุคคล ความคิดเรื่องสัญชาติเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเคียงคู่กับการเกิดขึ้นของรัฐสมัยใหม่ หมายความว่า รัฐเท่านั้นที่มีอำนาจที่จะให้สัญชาติแก่บุคคลได้ หากปราศจากรัฐสมัยใหม่แล้ว สัญชาติก็มีไม่ได้ หน่วยการปกครองที่ไม่มีลักษณะเป็นรัฐสมัยใหม่ เช่น แว่นแคว้น อาณาจักร นอกจากนี้หลักที่ว่า “รัฐเท่านั้นที่มีอำนาจในการให้สัญชาติแก่บุคคล” ย่อมมีนัยว่า กฎหมายสัญชาติเป็นกฎหมายมหาชนภายในของรัฐ การให้สัญชาติ การถอนสัญชาติ การกลับคืนสู่ สัญชาติดังเดิม เป็นเขตอำนาจภายในของแต่ละรัฐ (Domestic jurisdiction) หรือเป็นกิจการภายใน (Internal affair) ของแต่ละประเทศ หาใช่เป็นเรื่องของกฎหมายระหว่างประเทศโดยตรงไม่ เพียงแต่ กฎหมายระหว่างประเทศรับรองว่าการให้สัญชาติ (โดยการเกิด) นั้นเป็นสิทธิหรือเป็นอำนาจของแต่ ละรัฐซึ่งโดยจะอิงอยู่สองหลักคือหลักสืบสายโลหิตและหลักดินแดน โดยเป็นนิตินโยบายของแต่ละรัฐ ว่าจะเลือกใช้หลักใดหรือทั้งสองหลักควบคุมกันไปก็ได้ เหตุผลอีกประการหนึ่งที่สนับสนุนว่ากฎหมายสัญชาตินั้นเป็นกฎหมายภายในของรัฐ ก็คือปัญหาของคนมีสองสัญชาติ (Dual nationalities) สาเหตุของปัญหานี้เกิดขึ้นเพราะว่าหลักเกณฑ์ การให้สัญชาติของแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน สุดแท้แต่ว่ากฎหมายภายในของแต่ละประเทศจะใช้ เกณฑ์ใดในการให้สัญชาติ (ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช, 2563) กฎหมายระหว่างประเทศทั่วไปจะยอมรับว่าการออกกฎหมายว่าด้วยสัญชาติของตน ตกอยู่ภายในขอบเขตอำนาจภายในของรัฐโดยแท้ ดังนั้น โดยผลของหลัก รัฐจึงมีเสรีภาพในการ กำหนดการได้สัญชาติของตนหรือการเสียสัญชาติของตน กฎหมายระหว่างประเทศไม่มีข้อกำหนด ให้รัฐต้องใช้ข้อเท็จจริงใดในการกำหนดการได้สัญชาติหรือการเสียสัญชาติของตน แต่อย่างไรก็ตาม

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3