การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
48 รัฐมักจะกำหนดให้สัญชาติของตนโดยใช้ข้อเท็จจริงที่แสดงถึงความสัมพันธ์อย่างแท้จริง (Genuine Link) ระหว่างรัฐผู้ให้สัญชาติและเอกชนผู้ได้รับสัญชาติ จึงอาจสรุปได้ว่ารัฐอธิปไตยเท่านั้นที่สามารถให้สัญชาติแก่บุคคลได้ ซึ่งแต่ละรัฐนั้น สามารถกำหนดหลักเกณฑ์การได้สัญชาติหรือเสียสัญชาติของรัฐของตนได้อันเป็นกฎหมายภายใน กฎหมายระหว่างประเทศไม่มีข้อกำหนดใดแทรกแซงกฎหมายภายในของแต่ละรัฐ จึงเป็นผลให้เกิด การมีบุคคลสองสัญชาติเกิดขึ้นได้ 2.5.2 หลักการกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ ดร.สญชัย นินนาท (2551) ได้สรุปหลักทั่วไปของกฎหมายสัญชาติไว้ว่า นานาอารยะ ประเทศ มักจะคำนึงถึงหลักสำคัญ 4 - 5 ประการ ได้แก่ 1. บุคคลทุกคนควรมีสัญชาติ เพื่อที่จะไม่เป็นหลักลอย ไร้รัฐ ไร้สัญชาติ หาผู้ปกป้อง คุ้มครองไม่ได้ และก่อให้เกิดปัญหาแก่สังคมนานาชาติ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนบัญญัติว่า “ทุกคนมีสิทธิถือสัญชาติหนึ่ง” กฎหมายสัญชาติของประเทศทั้งหลายจึงบัญญัติให้บุคคลมีสัญชาติ ตั้งแต่แรกเกิด 2. บุคคลควรมีเสรีภาพในการเลือกถือสัญชาติ รัฐไม่ควรบังคับให้บุคคลต้องรับเอา สัญชาติของรัฐตน หลักทั่วไปจึงได้เปิดโอกาสให้มีการขอสัญชาติ แปลงสัญชาติหรือสละสัญชาติเดิม อย่างไรก็ตาม รัฐก็มีอิสระที่จะปฏิเสธการร้องขอ หรือยับยั้งการแปลงชาติของพลเมืองของตนได้ 3. บุคคลควรมีเพียงสัญชาติเดียว การมีหลายสัญชาติมักก่อความยุ่งยากแก่รัฐและ บุคคลอื่น รวมทั้งตนเองด้วย กรณีที่เห็นได้ชัด คือการเลือกใช้สัญชาติเพื่อหลบเลี่ยงภาษี หรือ หนีการเกณฑ์ทหาร อย่างไรก็ตาม บุคคลอาจมี 2 สัญชาติได้โดยได้สัญชาติทั้งจากหลักสายโลหิตและ หลักดินแดน แต่กฎหมายก็เปิดโอกาสให้มีการสละสัญชาติใดสัญชาติหนึ่งได้โดยความสมัครใจ 4. บุคคลในครอบครัว ควรถือสัญชาติเดียวกัน เพื่อมิให้เกิดความยุ่งยากในชีวิต ครอบครัว (เช่น ภรรยาเดินทางเข้าประเทศหนี่งได้ แต่สามีถือสัญชาติที่ถูกต้องห้ามเข้ารัฐนั้น) ประเทศส่วนใหญ่มีบทบัญญัติที่เปิดโอกาสให้สมาชิกในครอบครัวมีสัญชาติเดียวกันได้ เช่นหญิงที่ สมรสสามารถร้องขอแปลงสัญชาติตามสามีได้ เป็นต้น 5. นิติบุคคลควรมีสัญชาติ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความชัดเจนทำนองเดียวกับการจัดแบ่ง เอกชนระหว่างประเทศ 2.5.3 การมีสัญชาติของบุคคล หลักเกณฑ์การมีสัญชาติของบุคคลที่แต่ละรัฐนำมาประกอบการพิจารณาในการกำหนด สัญชาติของบุคคล แบ่งออกได้เป็น 2 วิธีการ คือ การได้สัญชาติโดยการเกิด และ การได้สัญชาติ ภายหลังการเกิด แยกพิจารณา ดังนี้ 1. การได้สัญชาติโดยการเกิด
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3