การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

49 ในขณะที่เกิดมาทุกคนจะต้องเป็นคนชาติ (National) ของประเทศใดประเทศหนึ่ง ทั้งนี้ ประเทศต่าง ๆ ได้บัญญัติเป็นกฎหมาย วางหลักเกณฑ์การให้สัญชาติแก่บุคคลในขณะที่เกิดไว้ ซึ่งจะเป็นการได้สัญชาติโดย “อัตโนมัติทันที” ที่เกิดมาและมีสภาพเป็นบุคคลภายหลังคลอดจากครรภ์ มารดาแล้ว เรียกวิธีการให้สัญชาติโดยการเกิดนี้ว่า “การได้สัญชาติโดยอัตโนมัติทันทีโดยการเกิด” ในการบัญญัติกฎหมายให้สัญชาติแก่บุคคลโดยการเกิดนี้ มีหลักที่ประเทศต่าง ๆ ถือเป็นแนวทาง 2 หลัก ดังนี้ (1) หลักดินแดน (Jus soli) ทารกเกิดในดินแดนประเทศใด ย่อมได้สัญชาติ ของประเทศนั้น โดยไม่คำนึงว่าทารกนั้นเกิดจากคนซึ่งมีสัญชาติของประเทศนั้นหรือคนต่างด้าว เพราะถือว่าความสัมพันธ์ทางดินแดนมีความสำคัญ เพราะว่าประเทศที่กำเนิดมีอิทธิพลเหนืออุปนิสัย ใจคอเท่า ๆ กับความสัมพันธ์ทางสายโลหิต ประเทศคอมมอนลอว์นิยมใช้หลักดินแดนในการกำหนด เกณฑ์การให้สัญชาติ เนื่องจากมีแนวความคิดเรื่องระบบฟิวดัลลิสม์ (Feudalism) ระหว่างเอกชนกับ เจ้าของที่ดิน หลักคิดนี้ได้รับการรับรองจากอนุสัญญาของสหประชาชาติว่าด้วยการลดความไร้ สัญชาติ (United Nations Convention on the Reduction of Statelessness) มาตรา 1 ลงวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 1961 แนวคิดนี้เกิดจากรัฐสมัยใหม่ที่ถือว่า รัฐมีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนอย่าง สมบูรณ์ ดังนั้นเมื่อบุคคลใดเกิดในดินแดนดังกล่าวย่อมทำให้บุคคลมีสัญชาติของรัฐโดยหลักดินแดน การเกิดในดินแดนของรัฐดังกล่าว หมายความรวมถึงการเกิดในเรือหรืออากาศยานที่มีสัญชาติของรัฐ นั้นด้วย (2) หลักสืบสายโลหิต (Jus sanguinis) ทารกจะต้องมีสัญชาติของบิดาหรือมารดา ซึ่งมีความผู้กพันกันทางสายโลหิต อันเป็นความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นถาวรยิ่งกว่าความสัมพันธ์อย่างอื่น ใด ทั้งนี้โดยไม่คำนึงว่าทารกนั้นจะเกิดในประเทศที่บิดาหรือมารดามีสัญชาติหรือเกิดในต่างประเทศ 2. การได้สัญชาติภายหลังการเกิด การเปลี่ยนแปลงสัญชาติใหม่นั้นปกติขึ้นอยู่กับเจตนาของบุคคลที่แสดงต่อรัฐที่ตน ประสงค์จะมีสัญชาตินั้นด้วยความยินยอมของรัฐที่บุคคลนั้นประสงค์จะเปลี่ยนไปมีสัญชาติใหม่ตาม กฎหมายว่าด้วยสัญชาติของรัฐนั้น อย่างไรก็ตามการที่บุคคลจะเปลี่ยนแปลงไปมีสัญชาติใหม่นั้นควร จะได้มีการสละสัญชาติหรือเสียสัญชาติเดิมของผู้นั้นเสียก่อน ทั้งนี้ เพื่อมิให้บุคคลนั้นมีสัญชาติสอง สัญชาติ อันเป็นสิ่งไม่พึงปรารถนา เพราะบุคคลทุกคนควรมีสัญชาติเดียว (วิชช์ จีระแพทย์, 2551) 2.5.4 การเสียสัญชาติของบุคคล การเสียสัญชาติของบุคคลถือว่าเป็นอำนาจรัฐที่จะถอนสัญชาติของบุคคลที่ได้สัญชาติ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด อำนาจการถอนสัญชาติของรัฐต่อบุคคลจึงเป็นการกระทำของแต่ละรัฐ อนุสัญญาว่าด้วยปัญหาบางประการเกี่ยวกับการขัดกันของกฎหมายสัญชาติ ค .ศ. 1930 (Convention on certain Questions Relating to the Conflict of Nationality Laws 1930)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3