การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
50 ระบุว่ารัฐแต่ละรัฐจะกำหนดว่าใครเป็นคนชาติของตนโดยออกเป็นกฎหมายภายใน และกฎหมาย ภายในเช่นว่านี้รัฐอื่นจะต้องยอมรับเท่าที่ขัดกับอนุสัญญาระหว่างประเทศ กฎหมายจารีตประเพณี และหลักกฎหมายทั่วไปอันเป็นที่ยอมรับในส่วนที่เกี่ยวกับสัญชาติ และอนุสัญญาฉบับเดียวกันนี้ ก็ได้กำหนดว่า ไม่ว่าปัญหาใดถ้าเกี่ยวกับการที่บุคคลจะมีสัญชาติของรัฐใดหรือไม่นั้นพิจารณา จากกฎหมายของรัฐนั้น (วิชช์ จีระแพทย์, 2551) จากแนวคำวินิจฉัยของศาลระหว่างประเทศตลอดทั้งอนุสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับ สัญชาติ จึงสรุปได้ว่า รัฐย่อมมีเขตอำนาจในการที่จะวางหลักเกณฑ์เพื่อกำหนดการให้สัญชาติ แก่บุคคล แต่เขตอำนาจของรัฐดังกล่าวต้องไม่เป็นการขัดแย้งหรือก้าวก่ายเขตอำนาจของรัฐอื่น ในเรื่องเดียวกัน การกำหนดสัญชาติของบุคคลโดยรัฐนั้นจึงต้องอยู่ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ ด้วย ฉะนั้น ทุกคนที่เกิดมาจึงต้องเป็นพลเมืองของรัฐใดรัฐหนึ่ง และ สัญชาติยังถือว่าเป็นเรื่องเขต อำนาจภายในรัฐ กฎหมายระหว่างประเทศไม่อนุญาตให้รัฐอื่น และแม้แต่องค์การระหว่ างประเทศ เข้าไปแทรกแซงเกี่ยวกับการกำหนดเงื่อนไขของการได้มาหรือเสียไปซึ่งสัญชาติด้วย 2.5.5 ผลของการมีสัญชาติ ในบทความเรื่อง 100 ปี แห่งสัญชาติไทย ซึ่งเขียนโดย รองศาสตราจารย์สมชาย ปรีชาศิลปกุล (2554) ได้อภิปรายในเรื่องการถือสัญชาติของรัฐว่ามีผลสำคัญติดตามมาอย่างน้อย ใน 2 ด้าน ด้านแรก เป็นมิติทางกฎหมาย โดยการถือสัญชาติของรัฐใดรัฐหนึ่ง มีผลให้บุคคลนั้น สามารถมีสิทธิและหน้าที่ต่างๆ ในฐานะพลเมืองของรัฐ ซึ่งทั่วไปแล้วจะกำหนดไว้แตกต่างไปจาก บุคคลที่ไม่ได้ถือสัญชาติของรัฐหรือเป็นคนต่างด้าว สิทธิในฐานะของคนต่างด้าวจะถูกจำกัดไว้ต่ำกว่า บุคคลที่ถือสัญชาติของรัฐ ซึ่งปรากฏทั้งด้านสิทธิทางการเมือง สิทธิทางเศรษฐกิจ สิทธิทางสังคมและ วัฒนธรรม ด้านที่สองเป็นมิติทางสังคม การมีสัญชาติแห่งรัฐไม่เพียงทำให้เกิดความผูกพันในทาง กฎหมายกับรัฐที่ตนถือสัญชาติเท่านั้น หากยังมีความหมายทางด้านสังคมติดตามมา สัญชาติเป็น เงื่อนไขหนึ่งที่สามารถทำให้เกิดความรู้สึกของการเป็นคนกลุ่มเดียวกันหรือพวกเดียวกันให้บังเกิดขึ้น ดังเช่นการถือสัญชาติของนักกีฬาที่เป็นลูกครึ่งหรือเป็นบุคคลที่เปลี่ยนสัญชาติมาจากสัญชาติอื่น แต่ก็ได้รับการสนับสนุนหรือชื่นชมจากเพื่อนร่วมชาติทั้งที่ลักษณะทางเชื้อชาติวัฒนธรรมอาจมีความ แตกต่างอย่างมากจากคนส่วนใหญ่ที่ถือสัญชาตินั้นก็ตาม ศาสตราจารย์ ดร.ชุมพร ปัจจุสานนท์ (2549) ได้อธิบายว่า ถ้าบุคคลใดได้รับสัญชาติของรัฐ ใดรัฐหนึ่ง จะส่งผลให้บุคคลนั้นมีสิทธี่จะเข้าอยู่อาศัยหรือพำนักอยู่ในดินแดนของรัฐที่ตนมีสัญชาติ สังกัดอยู่ ในทำนองเดียวกันรัฐเจ้าของสัญชาติก็มีหน้าที่ที่จะอนุญาตหรือให้คนชาติมีที่พำนัก อยู่ในดินแดนของตน หลักการดังกล่าวนี้ถือว่าเป็นหลักกฎหมายทั่วไปที่บัญญัติรับรองอยู่ในกฎหมาย ภายในของรัฐ นอกจากนี้สัญชาติถือเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการแบ่งสรรเอกชนระหว่างประเทศว่า เอกชนใดสังกัดในรัฐใด เอกชนที่สัญชาติของรัฐใดก็ถือว่าเป็นคนชาติของรัฐนั้น ในขณะเดียวกันก็เป็น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3