การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
51 คนต่างด้าวในสายตาของรัฐอื่น เอกชนหรือบุคคลควรสังกัดอยู่ในรัฐใดรัฐหนึ่ง โดยมีสัญชาติของรัฐนั้น เป็นเครื่องเชื่อมโยง มิฉะนั้นจะกลายเป็นคนไร้สัญชาติไป รัฐไม่ควรมีสิทธิที่จะขับไล่คนชาติของตนให้ ออกนอกดินแดน เพราะถ้าขับไล่คนชาติของตนออกนอกดินแดนก็เท่ากับบังคับให้รัฐอื่นยอมรับคน ชาติของตนให้อยู่ในดินแดนของรัฐอื่นซึ่งไม่เป็นการถูกต้องในทัศนะของกฎหมายระหว่างประเทศ แนวหลักดังกล่าวได้มีแนวปฏิบัติเกิดขึ้น เช่น ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (The Universal Declaration of Human Rights) ได้กำหนดไว้ในมาตรา 13 ว่า ทุกๆคนมีสิทธิที่จะมีเสรีภาพ ในการเคลื่อนย้ายหรือพำนักภายใต้อาณาเขตของรัฐแต่ละรัฐ และ ทุก ๆ คนมีสิทธิที่จะเดินทาง ออกนอกประเทศ รวมทั้งประเทศของตนและกลับมายังประเทศของตนได้ การที่ปฏิญญากำหนดไว้ เช่นนี้ก็เท่ากับยอมรับว่ารัฐมีหน้าที่จะต้องยอมรับให้คนชาติของตนกลับเข้าประเทศ แนวปฏิบัติถัดมา ใน International Covenant on Civil and Political Rights มาตรา 12 ย่อหน้าสี่ กำหนดว่า “บุคคลใดก็ตามไม่อาจที่จะถูกถอนสิทธิที่จะเข้ามายังประเทศของเข้าได้โดย อำเภอใจ” และใน International Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination ได้กำหนดให้รัฐคู่ภาคีประกันสิทธิของบุคคลในอันที่จะมีสิทธิที่จะออกเดินทางไปยัง ประเทศอื่นรวมทั้งเดินทางไปยังประเทศของตนด้วย และมีสิทธิที่จะเดินทางกลับสู่ประเทศของตนเอง โดยจะไม่มีการกีดกันในเรื่อง ผิด เชื้อชาติ คนชาติ หรือเหตุผลอื่น ทางชาติพันธุ์แต่ประการใด ใ น ท ำ น อ ง เ ดี ย ว กั น Protocol no.4 to the European Convention for the Protection of Human Rights and Fundamental Freedoms ในมาตรา 3 ได้กำหนดว่า ไม่มีใคร จะถูกขับไล่ไม่ว่าโดยบุคคลหรือมาตรการร่วมกันจากดินแดนรัฐที่ตนเป็นคนชาติ (มีสัญชาติ) อยู่และไม่ มีใครจะ ถูกถอนสิทธิที่จะเข้ามายังดินแดนของรัฐที่ตนเป็นคนชาติ (หรือที่ตนมีสัญชาติ) จากการที่ปรากฏแนวปฏิบัติในสนธิสัญญาระหว่างประเทศทำให้เห็นได้ว่าหน้าที่ของรัฐ ที่จะต้องให้คนชาติพำนักอยู่ในดินแดนของตนนั้นเป็นหลักกฎหมายที่เป็นที่ยอมรับ นอกจากหลัก ข้างต้น ผลจากการที่เป็นคนชาติของรัฐนั้นๆ ทำให้รัฐจะต้องเข้ามาปกป้องผลประโยชน์ของคนชาติ ของตนในกรณีที่คนชาติเหล่านี้อยู่นอกดินแดน เท่ากับว่าคนชาติต้องไปเป็นคนต่างด้าวในดินแดน ของรัฐอื่นและจะต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจรัฐเหนือดินแดนของรัฐที่ตนได้เข้าไปพำนักอยู่ หากคนชาติ ได้รับความเสียหายจากการกระทำของรัฐอื่น รัฐเจ้าของสัญชาติก็ย่อมจะปกป้องคุ้มครองผลประโยชน์ ของคนชาติของตน เหล่านี้จึงเกิดเป็นนิติสัมพันธ์ระหว่างรัฐผู้ให้สัญชาติกับบุคคลที่ได้รับสัญชาติ ซึ่งก่อให้เกิด ผลทางกฎหมายทั้งภายในประเทศและในทางระหว่างประเทศ โดยที่ในทางภายในประเทศนั้น รัฐจะต้องบริหารจัดการสาธารณูปโภคและสวัสดิการขั้นพื้นฐานในการดำรงชีพที่ให้เหมาะสมแก่คน ชาติของตน เช่นสิทธิทางการศึกษา สิทธิในการรักษาพยาบาล หรือการเข้าถึงระบบสาธารณูปโภค เป็นต้น และในทางระหว่างประเทศนั้น รัฐจะต้องให้สิทธิคุ้มครองคนชาติของตนที่ออกนอก
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3