การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

52 ราชอาณาจักร เช่น การเดินทางไปต่างประเทศเพื่อการท่องเที่ยวหรือเพื่อการศึกษาต่อ เป็นต้น หรือที่ เรียกกันว่า Diplomatic Protection อย่างไรก็ตาม การใช้ Diplomatic Protection หรือสิทธิให้ความคุ้มครองทางทูต ถือเป็น ดุลยพินิจของรัฐเจ้าของสัญชาติผู้เสียหายที่จะให้หรือไม่ก็ได้ ความคุ้มครองทางทูตจึงเป็นสิทธิของรัฐ มิใช่หน้าที่ของรัฐที่ต้องปฏิบัติแต่อย่างใด รัฐเจ้าของสัญชาติผู้เสียหายเป็นผู้เข้าใจสถานะการณ์ ในการนำหลักการคุ้มครองทางทูตมาใช้ จากการประเมินสถานการณ์ต่างๆ ว่าหากมีผลกระทบ อย่างมากต่อความสัมพันธ์หรือผลประโยชน์อื่นใดของรัฐ หรือหากได้ดำเนินการคุ้มครองทางทูตต่อไป ก็ไม่เกิดประโยชน์แต่อย่างใด ทั้งนี้การใช้สิทธิให้ความคุ้มครองทางทูตจึงเป็นดุลยพินิจของรัฐ เจ้าของสัญชาติผู้เสียหาย มิใช่สิทธิของผู้เสียหาย อันนำไปสู่การใช้วิธีการให้ความคุ้มครองทางทูต ของรัฐในวิธีการต่างๆ (วริยาภรณ์ ธนไวทย์โกเศส, 2558) นอกจากนี้คนชาติมีสิทธิแต่เพียงร้องขอให้ รัฐเจ้าของสัญชาติให้การคุ้มครองทางการทูตต่อข้อพิพาทที่ตนมีอยู่กับรัฐอื่นเท่านั้นแต่ไม่มีสิทธิที่จะ สละสิทธิที่จะเรียกร้องต่อรัฐเจ้าของสัญชาติ การสละสิทธิดังกล่าวถือว่าไม่มีผลผูกพันตามกฎหมาย ระหว่างประเทศ การสละสิทธิเช่นนี้รู้จักกันในนามของ “Calvo Clause” เกิดจากแนวความคิดที่เป็น ที่ยอมรับโดยทั่วไป การสละสิทธิเรียกร้องโดยเอกชนและบรรจุไว้ในข้อสัญญาที่ทำกับรัฐย่อมไม่มีผล ตัดสิทธิของรัฐเจ้าของสัญชาติที่จะใช้ Diplomatic Protection ต่อคนชาติของตนเพราะการคุ้มครอง ระหว่างประเทศเป็นสิทธิของรัฐมิใช่ของเอกชนหรือคนชาติ จากหลักการที่ว่าการกำหนดให้สัญชาติแก่คนไม่อยู่ในบริบทของกฎหมายระหว่างประเทศ แต่เป็นสิ่งที่รัฐแต่ละรัฐจะกำหนดการให้สัญชาติตามกฎหมายภายในของตน ลักษณะเช่นนี้อาจทำให้ คนมีสองสัญชาติ (Dual nationality) หรือกลายเป็นคนไร้รัฐ (Stateless person) ภาวะการณ์เช่นนี้ เป็นสิ่งที่อาจก่อปัญหาในเวทีระหว่างประเทศในการแสดงความรับผิดของรัฐ และแม้ว่ากฎหมาย ระหว่างประเทศไม่กำหนดหลักการการให้สัญชาติ แต่ก็มีข้อตกลงระหว่างประเทศที่พยายามเข้ามา ดูแลแก้ไขในกรณีที่มีปัญหาจากการมีสองสัญชาติ หรือการเป็นคนไร้รัฐ เช่น Hague Convention on Certain Questions Relating to the Conflict of Nationality Laws 1930 ซึ่งมีหลักการว่า - รัฐอาจไม่ใช้ Diplomatic protection กับรัฐที่เป็นเจ้าของสัญชาติอีกสัญชาติหนึ่ง - ถ้าคนมีมากกว่าหนึ่งสัญชาติ รัฐที่สามจะถือว่าเขาเป็นคนสัญชาติของรัฐใดรัฐหนึ่งเท่านั้น โดยจะถือเอาสัญชาติของประเทศที่คนนั้นมีถิ่นที่อยู่ หรือที่มีความผูกพันใกล้ชิด - ถ้ามีสองสัญชาติ จะสละสัญชาติใดก็ได้ แต่การสละนั้นต้องเป็นไปตามกฎหมายภายใน ของรัฐเจ้าของสัญชาติที่จะสละ ดังนั้น การที่เอกชนมีสัญชาติของรัฐหนึ่งจะทำให้เอกชนได้ประโยชน์จากกฎหมายระหว่าง ประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐเจ้าของสัญชาตินั้นสามารถใช้ Diplomatic protection ได้ ในแง่นี้การ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3