การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

53 มีสัญชาติของรัฐหนึ่งจะต้องปรากฏด้วยว่าบุคคลนั้นมี “ความเชื่อมโยงที่แท้จริง” (Genuine link) กับ รัฐเจ้าของสัญชาติ (กัญญา หิรัณย์วัฒนพงศ์, 2549) ในประเด็น เรื่อง ความคุ้มกันทางการทูต (Diplomatic protection) การที่บุคคล มีสองสัญชาติอาจจะนำมาซึ่งปัญหาในทางระหว่างประเทศได้ เพราะรัฐมีหน้าที่ในการให้ความคุ้มกัน ทางการทูต (Diplomatic protection) แก่คนชาติของตนกรณีที่อาศัยพำนักอยู่นอกราชอาณาจักร ซึ่งหากกรณีที่บุคคลมีสองสัญชาติอาจก่อให้เกิดปัญหาการใช้สิทธินั้น ๆ จากรัฐได้ เนื่องจากมีความ ทับซ้อนของการใช้สิทธิ เช่น หากบุคคลต้องการความช่วยเหลือเมื่ออยู่นอกราชอาณาจักร รัฐใดจะ เป็นผู้ที่ให้ความช่วยเหลือบุคคลดังกล่าวเพราะถือว่าเป็นบุคคลของรัฐมากกว่าหนึ่งรัฐ เป็นต้น (นฤมล ฐานิสโร, 2561) กรณีบุคคลสองสัญชาตินั้น รัฐใดจะเรียกร้องความคุ้มกันทางการทูต (Diplomatic protection) ได้หรือไม่ ได้มีคดี Nottebohm (Liechtenstein v. Guatemala) ซึ่งศาลยุติธรรม ระหว่างประเทศ (International Court of Justice – ICJ) เคยวินิจฉัยไว้ โดยได้กล่าวถึงแนวปฏิบัติ ในทางระหว่างประเทศในกรณีของบุคคลสองสัญชาติว่า จะพิจารณาให้เฉพาะสัญชาติที่เกี่ยวข้องกับ บุคคลนั้นมากที่สุด (Effective Nationality) ในกรณีของการให้ความคุ้มครองทางทูตนั้น ศาลได้ สรุปว่าสัญชาติของบุคคลต้องสอดคล้องกับพฤติการณ์และข้อเท็จจริงเพื่อที่จะใช้กล่าวอ้างกับรัฐอื่นได้ ตามแนวปฏิบัติในทางระหว่างประเทศนั้นสัญชาติเป็นสิ่งเชื่อโยงทางกฎหมายโดยมีพื้นฐานมาจาก ข้อเท็จจริงทางสังคมในการยึดเหนี่ยวเป็นความเกี่ยวโยงอันแท้จริง (Genuine link) แห่งการมีอยู่ ประโยชน์และความรู้สึกพร้อมทั้งการมีอยู่ของสิทธิและหน้าที่ซึ่งกันและกัน สัญชาติจะเป็นตัวชี้ให้เห็น ว่าบุคคลที่แปลงสัญชาติแล้วนั้นมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับประชากรของรัฐที่อนุญาต ให้มีการแปลงสัญชาติมากกว่าประชากรของรัฐอื่นต่อเมื่อมีการพิสูจน์ให้เห็นว่าความเกี่ยวข้อง เชื่อมโยงเช่นว่านั้นมีอยู่ รัฐที่อนุญาตให้มีการแปลงสัญชาติจึงชอบที่จะให้ความคุ้มครองทางทูต แก่บุคคลที่แปลงสัญชาติแล้วได้ ซึ่งในกรณีของนาย Nottebohm นั้นศาลเห็นว่านาย Nottebohm มิได้มีความผูกพันอย่างใกล้ชิดไม่ว่าโดยขนบธรรมเนียม การตั้งถิ่นฐาน ผลประโยชน์ กิจกรรม ความผูกพันทางครอบครัว หรือแม้แต่ความตั้งใจในอนาคตอันใกล้กับประเทศลิกเตนสไตน์มากไปกว่า ประเทศอื่นใดเลย ศาลจึงปฏิเสธสิทธิของประเทศลิกเตนสไตน์ที่จะให้ความคุ้มครองทางการทูตแก่ นาย Nottebohm และยกคำขอของประเทศลิกเตนสไตน์ คำวินิจฉัยของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีของนาย Nottebohm ชี้ให้เห็นว่าแม้รัฐ จะมีอำนาจในการให้สัญชาติแก่บุคคลก็ตาม แต่การให้สัญชาติแก่บุคคลนั้นจะต้องปรากฏว่า มีความเกี่ยวโยงอันแท้จริง (Genuine link) ระหว่างรัฐกับบุคคลที่รัฐจะให้สัญชาติ ซึ่งความเกี่ยวโยง อันแท้จริงดังกล่าวนี้ต้องเป็นความเกี่ยวโยงที่มากกว่าการที่รัฐยอมให้สัญชาติแก่บุคคล

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3