การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
56 การแปลงสัญชาติของผู้ปกครองควรขยายไปถึงผู้เยาว์ด้วย แต่ในกรณีที่บุตรผู้เยาว์ไม่ได้รับ ผลจากการแปลงสัญชาติของผู้ปกครอง บุตรผู้เยาว์ก็ยังคงมีสัญชาติเดิมอยู่ก็ได้ ส่วนเด็กที่เกิดมา โดยไม่ทราบบิดามารดา ควรได้รับสัญชาติตามหลักดินแดน กรณีที่เด็กไม่ได้สัญชาติตามหลักดินแดนโดยอัตโนมัติ และบิดามารดาไม่มีสัญชาติหรือ ไม่ปรากฏสัญชาติ เด็กควรจะได้รับสัญชาติของรัฐที่ตกเกิด โดยรัฐนั้นจะต้องกำหนดหรือบัญญัติกรณี นี้เป็นเงื่อนไขหนึ่งของการได้สัญชาติ กรณีของการรับบุตรบุญธรรม ถ้ากฎหมายของรัฐใดกำหนดว่าบุตรบุญธรรมย่อมเสีย สัญชาติอันเนื่องมาจากการรับบุตรบุญธรรม การเสียสัญชาตินั้นควรมีเงื่อนไขว่าบุตรบุญธรรมนั้น ควรจะได้รับสัญชาติตามบุคคลที่รับบุตรบุญธรรมนั้น (ชุมพร ปัจจุสานนท์, 2549) กฎหมายขัดกันในเรื่องสถานะของบุคคล ศาสตราจารย์คนึง ฦๅไชย (2564) อธิบายว่า สถานะของบุคคลเป็นเรื่องที่เกี่ยวพันใกล้ชิดกับเรื่องความสามารถ หรือความไร้ความสามารถ โดยที่ พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา 10 วรรคแรก บัญญัติว่า “ความสามารถและความไร้ความสามารถของบุคคลย่อมเป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของบุคคลนั้น” เมื่อคำนึงถึงเจตนารมณ์ของ พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 ที่ว่า ในเรื่องที่ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติ จึงน่าจะถือได้ว่าสถานะของบุคคล ย่อมเป็นไปตามกฎหมายสัญชาติด้วยเช่นเดียวกัน การขัดกันในเรื่องสัญชาติบุคคลธรรมดา จุดเกาะเกี่ยวตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 ถือหลักสัญชาติ กฎหมายของประเทศที่จะยกขึ้นปรับแก่เรื่องนี้ จึงได้แก่กฎหมายของประเทศที่บุคคลนั้นมีสัญชาติอยู่ กรณีจะเห็นได้ตามมาตรา 34 ถึงมาตรา 36 และมาตรา 39 ของพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นต้น ตามที่ พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 ถือกฎหมายสัญชาติ เป็นกฎหมายที่พิจารณาถึงสถานะ ความสามารถและนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ตรงกับหลักกฎหมาย ขัดกันของประเทศฝรั่งเศส ประเทศเยอรมนี ประเทศอิตาลี ประเทศสเปน ราชอาณาจักรสวีเดน ประเทศฮอลแลนด์ ประเทศกรีซ ประเทศญี่ปุ่น และสหรัฐเม็กซิโก ส่วนกฎหมายขัดกันของประเทศ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ราชอาณาจักรนอร์เวย์ ราชอาณาจักรเดนมาร์ก และสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล ถือภูมิลำเนาเป็นจุดเกาะเกี่ยว ในกรณีที่มีปัญหาว่าบุคคลคนหนึ่งมีสัญชาติของประเทศใดประเทศหนึ่งหรือไม่ จะต้อง พิจารณาตามกฎหมายภายในที่เป็นกฎหมายว่าด้วยสัญชาติของประเทศนั้น ทำนองเดียวกันการที่ บุคคลซึ่งมีสัญชาติของประเทศหนึ่งแล้ว จะเสียสัญชาตินั้นหรือไม่ ก็ต้องพิจารณาจากกฎหมายภายใน ของประเทศนั้นเช่นเดียวกัน สำหรับประเทศไทย การที่คนคนหนึ่งจะมีสัญชาติไทยหรือไม่ หรือคนคนหนึ่งซึ่งมีสัญชาติ ไทยอยู่ก่อนแล้วจะเสียสัญชาติไทยหรือไม่ จะต้องพิจารณาจากกฎหมายไทยว่าด้วยสัญชาติ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3