การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
63 ว่าด้วยสัญชาติของตนเอง กลุ่มประเทศที่เป็นประเทศเสรีภาพมักจะให้สิทธิแก่พลเมืองในการเลือกถือ สัญชาติได้มากกว่าสัญชาติของตน ในขณะที่ประเทศที่มีลักษณะเป็นชาตินิยม อาทิ ประเทศจีน ประเทศญี่ปุ่น มักจะไม่ยินยอมให้มีสถานะคนสองสัญชาติ การได้สัญชาติของประเทศดังกล่าวจะต้อง มีการสละสัญชาติเดิมเท่านั้น 2.6.2 ปัญหาคนสองสัญชาติ ด้วยพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 มีบทบัญญัติในลักษณะทีอาจทำให้บุคคล บางประเภทมีสัญชาติได้มากกว่าหนึ่งสัญชาติอันเนื่องมาจากผลของกฎหมายแม้ว่าโดยหลักแล้วบุคคล ควรถือสัญชาติเดียวไม่ควรถือสองสัญชาติเนื่องจากจะทำให้เกิดความขัดแย้งในทางปฏิบัติ (ส่วนการ ทะเบียนราษฎร สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย , ม.ป.ป.) ดังนั้น กฎหมายจึงเปิดช่องให้มีการสละสัญชาติได้ ปัญหาการมีสองสัญชาติก่อให้เกิดผลกระทบกับสังคมใน หลายมิติ 1. ปัญหาด้านการเมืองและความมั่นคง บุคคลสองสัญชาติส่งผลกระทบให้เกิดในด้านการเมืองและความมั่นคงของประเทศไทย ตัวอย่าง ในกรณีบุคคลสองสัญชาติ ไทย-มาเลเซีย สืบเนื่องจากรัฐบาลมาเลเซียเห็นว่าคนไทยมุสลิม บริเวณจังหวัดภาคใต้ของไทยมีความผูกพันกับมาเลเซียมากกว่าไทยจึงมีแนวคิดจะให้สัญชาติ แก่บุคคลเหล่านี้ ต่อมาพรรคการเมืองในประเทศมาเลเซียต้องการใช้ประโยชน์จากบุคคลสองสัญชาติ เพื่อเป็นฐานคะแนนเสียงในการเลือกตั้งภายในฝั่งมาเลเซีย จึงมีการส่งนายหน้าเข้ามาชักชวนคนไทย มุสลิมบริเวณจังหวัดภาคใต้ให้ถือสัญชาติมาเลเซียทำให้เกิดบุคคลสองสัญชาติเพิ่มมากขึ้นด้วย ในขณะเดียวกันบุคคลสองสัญชาติก็ได้รับประโยชน์จากการเข้าไปหารายได้ในฝั่งมาเลเซียเพราะ สามารถทำรายได้ได้มากกว่า ดังนั้นจึงเกิดปัญหาที่รัฐบาลไทยสันนิษฐานว่า บุคคลสองสัญชาติ มีผลกระทบต่อความมั่นคงเพราะกลุ่มก่อการร้ายที่เป็นบุคคลสองสัญชาติเมื่อก่อความไม่ส งบ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็สามารถหลบหนีไปแฝงตัวอยู่ในประเทศมาเลเซียได้ทันที แม้ว่าภายหลัง จะพิสูจน์ได้ว่าในอดีตกลุ่มบุคคลที่ถือสองสัญชาติจะมีส่วนเกี่ยวพันกับการก่อการร้าย แต่ก็เป็นกรณี ที่เกิดขึ้นเมื่อนานมาแล้ว โดยในปัจจุบันยังไม่สามารถพิสูจน์ได้แน่ชัดว่ากลุ่มก่อความไม่สงบในปัจจุบัน จะเกี่ยวข้องกับบุคคลสองสัญชาติแต่อย่างใด (จิราพร งามเลิศศุภร, 2553) 2. ปัญหาเรื่องหน้าที่พลเมืองและสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับสวัสดิการจากรัฐ สัญชาติเป็นข้อผูกพันทางกฎหมายที่ทำให้เกิดสิทธิและหน้าที่ระหว่างบุคคลและรัฐ ดังนั้น การที่บุคคลมีสองสัญชาติย่อมเกิดปัญหาความบกพร่องในหน้าที่พลเมืองรัฐใดรัฐหนึ่ง ในขณะที่บุคคล สองสัญชาติยังสามารถได้สิทธิประโยชน์บางอย่างที่เป็นสวัสดิการหรือสิทธิที่พึงจะได้จากทั้งสองรัฐ จึงทำให้รัฐเสียประโยชน์ เช่น บุคคลผู้ถือสัญชาติไทยและสัญชาติของรัฐอื่น อาจอาศัยอยู่รัฐอื่น ที่ตนถืออีกสัญชาติเป็นหลักโดยประกอบอาชีพและเสียภาษีให้แก่รัฐนั้น ประเทศไทยจึงไม่อาจ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3