การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

64 จัดเก็บภาษีจากบุคคลนั้นได้ ประเทศสหรัฐอเมริกาจึงได้ออกกฎหมาย Foreign Account Tax Compliance Act (FATC) ในปี ค.ศ. 2010 โดยมีวัตถุประสงค์ในการป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีของ บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลของสหรัฐอเมริกาทำให้สามารถเรียกเก็บภาษีของบุคคลที่ถือสัญชาติ อเมริกันที่มีแหล่งรายได้ในต่างประเทศได้ด้วย นอกจากนี้การที่บุคคลมีสองสัญชาติอาจได้ประโยชน์ จากสวัสดิการของรัฐทั้งสองรัฐ เช่น กรณีโรคระบาด ไว้รัสโคโรนา 2019 ระบาดไปทั่วโลก คนสอง สัญชาติซึ่งอาศัยอยู่ในต่างประเทศอาจจะขอเดินทางกลับไทยและรัฐบาลไทยต้องดูแลในการกักตัว และป้องกันโรคแม้ผู้นั้นจะไม่เคยเสียภาษีให้กับประเทศไทยเลยก็ตาม ดังนั้นบุคคลสองสัญชาติจึงมี แนวโน้มที่จะสามารถหาประโยชน์จากการถือสองสัญชาติได้ ในขณะที่รัฐมีแนวโน้มจะเสียประโยชน์ มากกว่า 3. ปัญหาการคุ้มครองคนชาติที่เป็นคนสองสัญชาติตามกฎหมายระหว่างประเทศ หลักความคุ้มครองทางการทูต (Diplomatic Protection) คือ หลักการที่รัฐจะพิจารณา ให้ความคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือคนชาติของตนเมื่อได้รับความเสียหายจากการกระทบสิทธิ โดยอาจจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขบางประการตามที่กฎหมายระห่างประเทศกำหนดไว้ เช่น บุคคลนั้น ต้องเรียกร้องการเยียวยาภายในของรัฐที่ก่อให้เกิดความเสียหายก่อนเป็นต้น รัฐจึงจะสามารถใช้สิทธิ ให้ความคุ้มครองทางการทูตแก่คนชาติของตนได้ ปัญหาจะเกิดขึ้นเมื่อรัฐเจ้าของสัญชาติจะให้ความคุ้มครองทางการทูตแก่คนชาติตนต่อรัฐ ที่บุคคลนั้นเป็นคนชาติของอีกรัฐเช่นเดียวกัน โดยกรณีนี้แต่เดิมอนุสัญญากรุงเฮก ค.ศ. 1930 ข้อ 4 กำหนดให้รัฐไม่อาจใช้สิทธิในการให้ความคุ้มครองทางการทูตเพื่อประโยชน์ของคนชาติต่อรัฐที่บุคคล ดังกล่าวก็เป็นคนชาติเช่นกัน เนื่องจากว่ารัฐแต่ละรัฐมีอำนาจอธิปไตยเสมอกัน การที่รัฐใดเพียงรัฐ หนึ่งจะให้ความคุ้มครองคนชาติตนทั้งที่บุคคลนั้นก็ถือว่าเป็นคนชาติของอีกรัฐเช่นกันย่อมทำไม่ได้ อย่างไรก็ดี ร่างบทมาตราว่าด้วยความคุ้มครองทางทูต ค.ศ. 2006 ข้อ 7 ได้เปลี่ยนแนวทาง ในการพิจารณาตามอนุสัญญากรุงเฮก ค.ศ. 1930 เนื่องจากมีการเพิ่มข้อยกเว้นในบางกรณีให้รัฐจะให้ ความคุ้มครองทางการทูตสามารถทำได้หากรัฐนั้นมีอำนาจในการปกครองคนชาติของตนเหนือกว่า อีกรัฐ กล่าวคือ คนสองสัญชาตินั้นเป็นคนชาติของทั้งสองรัฐก็จริง แต่หากรัฐที่จะให้ความคุ้มครอง ทางการทูตสามารถพิสูจน์ได้ว่ารัฐตนมีอำนาจในการปกครองคนชาติเหนือกว่าอีกรัฐหนึ่ง ก็จะสามารถ ใช้สิทธิในการคุ้มครองทางการทูตได้ โดยอาจพิจารณาว่าบุคคลสองสัญชาติมีถิ่นที่อยู่อาศัยเป็นประจำ อยู่ในรัฐใด มีการใช้เวลาอยู่ในรัฐที่ตนมีสัญชาติรัฐใดมากกว่ากัน มีผลประโยชน์ทางการเงินและ การจ้างงานในรัฐใด มีความผูกพันกับครอบครัวที่อาศัยอยู่ในรัฐใดมากกว่ากัน มีการศึกษาและทักษะ ในการใช้ภาษาของรัฐใดมากกว่า มีประกันสังคม หลักฐานการจ่ายภาษี และบัญชีธนาคารในรัฐใด ฯลฯ ซึ่งองค์ประกอบในการพิจารณานั้นจะต้องพิจารณาบุคคลสองสัญชาติแต่ละรายเป็นกรณี ๆ ไป (กัณภัค ตัณฑสิทธิ์, 2563)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3