การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

69 ขั้นตอนการพิสูจน์สัญชาติ ได้ถูกกำหนดไว้ในระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการ ขอพิสูจน์สัญชาติ พ.ศ.2557 ซึ่งระบุว่า ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 57 ให้โอกาสผู้ที่มีหลักฐานอันเพียงพอที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะเชื่อถือได้ว่าเป็นคนมีสัญชาติไทยสามารถ พิสูจน์การเป็นคนมีสัญชาติไทยได้ แต่หากผู้ใดอ้างว่าเป็นคนมีสัญชาติไทย ถ้าไม่ปร ากฏหลักฐาน อันเพียงพอที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะเชื่อถือได้ว่าเป็นคนมีสัญชาติไทย ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้น เป็นคนต่างด้าวจนกว่าผู้นั้นจะพิสูจน์ได้ว่าตนมีสัญชาติไทย โดยการพิสูจน์สัญชาติของผู้ซึ่งอ้างว่า เป็นคนมีสัญชาติไทย แต่ไม่ปรากฏหลักฐานอันเพียงพอที่จะเชื่อถือได้ว่าเป็นคนมีสัญชาติไทย จะต้อง ยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบคำขอพิสูจน์สัญชาติ (ตม.10) และชำระค่าธรรมเนียมตามที่ กฎหมายกำหนด (ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการขอพิสูจน์สัญชาติ พ.ศ. 2557, 2557) ปัญหาเกี่ยวกับการพิสูจน์สัญชาติมีมักพบในทางปฏิบัติก็คือ ผู้มีสัญชาติไทยเดินทางเข้ามา ในราชอาณาจักรแต่เอกสารเดินทางไม่สมบูรณ์ เจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองก็จะต้องมีการนัด รายงานตัวบุคคลสัญชาติไทย ก่อนปล่อยตัวเข้าเมืองในฐานะเป็นคนมีสัญชาติไทย การกระทำเช่นนี้มี ขึ้นเพื่อให้ความสะดวกแก่การปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง เป็นขั้นตอน ซึ่งเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองสามารถปล่อยตัวเข้าเมืองได้ถือว่ามีหลักฐานพอเพียงเชื่อถือได้ว่า เป็นคนผู้มีสัญชาติไทย มิใช่การพิสูจน์สัญชาติตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 57 (ชุมพร ปัจจุสานนท์, 2549) จึงสรุปได้ว่า การจะยื่นคำขอพิสูจน์สัญชาติไทยตามความในมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติ คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นั้น จะกระทำก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นเดินทางเข้าประเทศไทยและอ้างว่าตนเป็น คนไทย แต่ไม่สามารถแสดงหลักฐานการมีสัญชาติไทยต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ หากสามารถแสดง หลักฐานการมีสัญชาติไทยได้นั้น พนักงานเจ้าหน้าที่ก็ต้องยินยอมให้เข้าประเทศในฐานะคนไทย มิใช่คนต่างด้าว แม้ขณะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรนั้นจะไม่มีหนังสือเดินทางไทยหรือเอกสารใช้ แทนหนังสือเดินทางของไทยก็ตาม ทั้งนี้เนื่องจาก รัฐธรรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 39 รับรองไว้ว่า การห้ามมิให้ผู้มีสัญชาติไทยเข้ามาในราชอาณาจักรจะกระทำมิได้ 2.7.3 กฎหมายเกี่ยวกับสัญชาติ รองศาสตราจารย์ ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร (2548) ได้อธิบายไว้ว่าในการ พิจารณากรณีเกี่ยวกับสัญชาติไทย หากพบว่าไม่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรในเรื่องใด ก็จะต้องนำเอา หลักกฎหมายทั่วไปว่าด้วยสัญชาติมาใช้ประกอบด้วย อาทิ การได้หรือเสียสัญชาติไทยโดยผลของ กฎหมายเพราะการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตแห่งรัฐ การได้สัญชาติหรือการกลับคืนสัญชาติโดยผลของ กฎหมายภายหลังการเกิดในบางกรณี

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3