การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
70 พระราชบัญญัติสัญชาติ เป็นกฎเกณฑ์ในการกำหนดสัญชาติของบุคคลธรรมดา เท่านั้น กฎหมายนี้ไม่ได้กำหนดถึงสัญชาติของนิติบุคคล หรือของสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ อาทิเช่น เรือ อากาศยาน และกฎเกณฑ์ที่พบในพระราชบัญญัติสัญชาติ ยังเป็นกฎเกณฑ์ในการกำหนดสัญชาติ ของบุคคลเท่านั้น กฎหมายนี้จึงเป็นเครื่องมือในการตอบว่าบุคคลมีสัญชาติไทยหรื อไม่เท่านั้น ในพระราชบัญญัติสัญชาติจึ งมีกฎ เกณฑ์อยู่ 3 กลุ่ม เพื่อตอบปัญหา 3 ปัญหา กล่าวคือ บุคคลได้สัญชาติหรือไม่ บุคคลเสียสัญชาติหรือไม่ และบุคคลจะได้กลับคืนสัญชาติหรือไม่ ดังนั้น ขอบเขตของพระราชบัญญัติสัญชาติจึงจำกัดอยู่เพียงแค่การกำหนดความมีอยู่ของ สิทธิในสัญชาติไทยเท่านั้น ไม่ได้ก้าวล่วงไปถึงผลของการถือสัญชาติไทยของบุคคลธรรมดา ดังนั้น ปัญหาที่ว่าคนสัญชาติไทยมีสิทธิในทางการเมืองหรือในทางแพ่งที่แตกต่างจากคนต่างด้าว อย่างไร จึงไม่อาจพบคำตอบได้ในกฎหมายฉบับนี้ การได้สัญชาติไทย การได้สัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 มี 2 วิธี คือ การได้สัญชาติโดย การเกิด และ การได้สัญชาติภายหลังการเกิด 1. การได้สัญชาติไทยโดยการเกิด การได้สัญชาติไทยโดยการเกิด ก็คือ การได้สัญชาติไทยโดยผลของกฎหมายประเภท หนึ่ง กฎหมายจะกำหนดข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่งไว้ และระบุให้ข้อเท็จริงดังกล่าวเป็นเหตุของการ ได้สัญชาติ เมื่อบุคคลใดมีข้อเท็จจริงเช่นนั้นเขาก็จะได้รับสัญชาติไทยโดยอัตโนมัติ กล่าวคือ ไม่ต้องมีการร้องขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่อนุญาตเสียก่อน กฎหมายสัญชาติของไทยยอมรับแนวความคิดดังกล่าว โดยได้บัญญัติไว้ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ว่า มาตรา 7 บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติโดยการเกิด (1) ผู้เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอก ราชอาณาจักรไทย (2) ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย ยกเว้นุคคลตามมาตรา 7 ทวิ วรรคหนึ่ง คำว่าบิดาตาม (1) ให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นบิดาของผู้เกิด ตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง แม้ผู้นั้นจะมิได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของผู้เกิดและมิได้ จดทะเบียนรับรองผู้เกิดเป็นบุตรก็ตาม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3