การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

75 (หลวงประดิษฐมนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์), 2474) ซึ่งขยายความได้ว่าหมายถึง การที่บุคคลแสดง เจตนาต้องการสละสัญชาติเดิมเพื่อจะมีสัญชาติใหม่ ซึ่งสัญชาติใหม่ของบุคคลนั้นจะต้องให้การรับรอง การเป็นพลเมืองของรัฐด้วย การแปลงสัญชาติมีลักษณะคล้ายกับการทำสัญญาซึ่งต้องแสดงถึง ความสมัครใจของทั้งสองฝ่าย คือ บุคคลที่ต้องการแปลงสัญชาติและรัฐที่จะรับบุคคลมามีสัญชาติ ดังนั้นแม้บุคคลจะปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ครบถ้วนแล้ว รัฐก็ยังมีสิทธิที่จะปฏิเสธ การมีสัญชาติของรัฐได้ เนื่องจากเป็นดุลยพินิจ บุคคลนั้นจะเรียกร้องให้รับเป็นคนรัฐนั้นไม่ได้ พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 กำหนดเรื่องการแปลงสัญชาติเป็นไทยไว้ในมาตรา 10 มาตรา 11 และมาตรา 12 โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท (พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร, 2548) คือ ประเภทแรก คือ คนต่างด้าวที่บรรลุนิติภาวะแล้วโดยทั่วไป พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ได้กำหนดเงื่อนไขในการแปลงสัญชาติสำหรับบุคคลนี้ในมาตรา 10 มาตรา 10 คนต่างด้าวซึ่งมีคุณสมบัติครบถ้วนดังต่อไปนี้ อาจขอแปลงสัญชาติเป็นไทย ได้ (1) บรรลุนิติภาวะแล้วตามกฎหมายไทยและกฎหมายที่บุคคลนั้นมีสัญชาติ (2) มีความประพฤติดี (3) มีอาชีพเป็นหลักฐาน (4) มีภูมิลำเนาในราชอาณาจักรไทยต่อเนื่องมาจนถึงวันที่ยื่นคำขอแปลงสัญชาติ เป็นไทยเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี (5) มีความรู้ภาษาไทยตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ประเภทที่สอง คือ คนต่างด้าวที่บรรลุนิติภาวะแล้วซึ่งมีความสัมพันธ์พิเศษกับ ประเทศไทย พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ได้กำหนดเงื่อนไขในการแปลงสัญชาติสำหรับ บุคคลนี้ในมาตรา 11 โดยยกเว้นหลักเกณฑ์บางประการของเงื่อนไขในมาตรา 10 ไว้ มาตรา 11 บทบัญญัติในมาตรา 10 (4) และ (5) มิให้นำมาใช้บังคับ ถ้าผู้ขอแปลง สัญชาติเป็นไทย (1) ได้กระทำความดีความชอบเป็นพิเศษต่อประเทศไทย หรือได้ทำคุณประโยชน์ ให้แก่ทางราชการซึ่งรัฐมนตรีเห็นสมควร (2) เป็นบุตร ภริยา หรือสามมีของผู้ซึ่งได้แปลงสัญชาติเป็นไทย หรือของผู้ได้ กลับคืนสัญชาติไทย

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3