การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

78 ความมั่นคงปลอดภัย การขาดความจงรักภักดี หรือมีการกระทำอันเป็นกลฉ้อฉล ปกปิดข้อเท็จจริง ทั้งนี้ พระราชบัญญัติสัญชาติ ได้กำหนดไว้ 3 กรณี กรณีที่ 1 เป็นหญิงต่างด้าวที่ได้สัญชาติไทยจากการสมรส แต่ได้ปกปิดข้อเท็จจริง หรือมีการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงและประโยชน์ของชาติ หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อย และศึลธรรมอันดีงาม กรณีที่ 2 เป็นการถอนสัญชาติของผู้ที่เกิดในราชอาณาจักร แต่มีบิดาหรือมารดา เป็นคนต่างด้าวและเข้าข่ายละทิ้งถิ่นกำเนิดไปอยู่ต่างแดนเกิน 5 ปี มีหลักฐานว่าได้สัญชาติอื่น ฝักใฝ่ สัญชาติอื่น หรือมีการกระทำอันเป็นการกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงและประโยชน์ของชาติ เหยียดหยามประเทศชาติ หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีงาม กรณีที่ 3 เป็นพวกแปลงสัญชาติ แต่พบว่ายังถือสัญชาติเดิมอยู่ ไม่มีภูมิลำเนา ในประเทศไทย เป็นปฏิปักษ์ต่อผลประโยชน์และความมั่นคง หรือมีสัญชาติคู่สงครามกับไทย เป็นต้น 4. การเสียสัญชาติไทยจากการถือบัตรคนต่างด้าว (ตามมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติ สัญชาติ พ.ศ. 2508) ผู้มีสัญชาติไทยจากการเกิดบนแผ่นดินไทย แต่มีบิดาหรือมารดาเป็นคนต่างด้าว ถ้าต่อมาบุคคลผู้นั้นไดรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ย่อมมีผลให้เสียสัญชาติไทย 5. การเสียสัญชาติไทยจากการเปลี่ยนแปลงเขตอาณา (ตามสนธิสัญญา) คนไทยที่พำนัก อาศัยอยู่ในส่วนหนึ่งส่วนใดของประเทศไทย หากดินแดนส่วนนั้นตกไปเป็นเขตอาณาของรัฐอื่นตาม สนธิสัญญา อาจเสียสัญชาติไทยก็ได้ หากเข้าถือสัญชาติของรัฐที่สืบสิทธิ์ดินแดนส่วนนั้น ดังเช่นกรณี เกาะกง ที่ตกไปเป็นของกัมพูชาปี พ.ศ.2477 คนไทยที่ไม่อพยพออกจากดินแดนดังกล่าว จะเปลี่ยน สถานะเป็นคนต่างด้าวหรือเสียสัญชาติไทยไปตามสนธิสัญญากำหนด (สญขัย นินนาท, 2551) อย่างไรก็ตาม ผลของการเสียสัญชาติไทย ตามข้อ 1 – 4 ซึ่งเป็นการเสียสัญชาติตามหมวด 2 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ นั้น จะมีนับแต่เมื่อได้มีการประกาศการเสียสัญชาติไทยของบุคคลนั้น ในราชกิจจานุเบกษา และการเสียสัญชาติไทยจะมีผลเพียงเฉพาะตัว ตามกฎหมายสัญชาติมาตรา 5 (พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508, 2508) จึงสรุปได้ว่า ผู้มีสัญชาติไทยแม้จะเสียสัญชาติไทยด้วยเหตุใดตามพระราชบัญญัติสัญชาติไม่ ว่าจะโดยเสียไปด้วยผลของกฎหมายเช่นการแปลงสัญชาติ การแสดงเจตนาสละสัญชาติ หรือ ถูกถอนสัญชาติ ก็จะมีผลให้เสียสัญชาติไปก็ต่อเมื่อได้มีการประกาศการเสียสัญชาติไทยของบุคคลนั้น ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว หากยังไม่เคยมีการประกาศให้เสียสัญชาติดังกล่าว บุคคลดังกล่าวจึงยังเป็น ผู้มีสัญชาติไทย ไม่ใช่คนต่างด้าว 2.7.4 กฎหมายอาญา กฎหมายอาญา คือ กฎหมายที่บัญญัติให้ผู้กระทำการหรือผู้ไม่กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด ต้องระวางโทษ “ประหารชีวิต” “จำคุก” “กักขัง” “ปรับ” หรือ “ริบทรัพย์สิน” อันเป็น “โทษ”

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3