การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
79 ที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 18 ซึ่งกฎหมายอาญา นอกจากที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายอาญาแล้ว ยังบัญญัติอยู่ในพระราชบัญญัติอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งหาก พระราชบัญญัตินั้น ๆ มีบทบัญญัติมาตราหนึ่งมาตราใดที่เข้าลักษณะของกฎหมายอาญาที่กล่าวแล้ว ข้างต้น มาตราต่าง ๆ เหล่านั้นก็เป็นกฎหมายอาญาเช่นกัน ดังนั้นจึงต้องนำบทบัญญัติในภาค 1 แห่ง ประมวลกฎหมายอาญาไปใช้ในกรณีความผิดตามกฎหมายอื่น ๆ นั้นด้วย เว้นแต่กฎหมายนั้น ๆ จะได้ บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ตามที่ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 17 บัญญัติไว้ ดังนั้นพระราชบัญญัติ คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 เป็นบทกฎหมายที่มีบทบัญญัติว่าหากกระทำการฝ่าฝืนต้องรับโทษทางอาญา จึงต้องนำบททั่วไปในกฎหมายอาญามาใช้บังคับ (เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์, 2562) ลักษณะพิเศษของกฎหมายอาญา เนื่องจากโทษทางอาญานั้นมีผลกระทบกระเทือนต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ และทรัพย์สินของประชาชน ด้วยเหตุนี้กฎหมายอาญาจึงต้องมีลักษณะพิเศษหรือ มีเอกลักษณ์ของตนเองซึ่งแตกต่างจากกฎหมายอื่น ๆ มาตรา 2 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายอาญา ได้บัญญัติว่า บุคคลจักต้องรับโทษในทาง อาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้นต้องเป็นโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย หลักในมาตรา 2 วรรคหนึ่งนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 บัญญัติรับรอง ไว้ในมาตรา 29 วรรคหนึ่ง ว่า บุคคลไม่ต้องรับโทษอาญา เว้นแต่ได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ ในเวลาที่กระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่บุคคลนั้นจะหนักกว่า โทษที่บัญญํติไว้ในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำความผิดมิได้ หลักในมาตรา 2 วรรคหนึ่ง และในรัฐธรรมนูญนี้ หลักนี้เป็นหลักสากลอันเป็นที่ยอมรับกัน ในนานาอารยประเทศ หลักนี้เรียกในภาษาลาตินว่า “Nullum crimen nulla poena sine lege” แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า “No crime or punishment without law” คือ ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ หากไม่มีกฎหมาย หลักในมาตรา 2 วรรคหนึ่ง แยกพิจารณาได้ดังนี้ 1. ผู้กระทำไม่ต้องรับผิดในทางอาญา หากการกระทำนั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ ในขณะกระทำว่าเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ 2. กฎหมายอาญาจะย้อนหลังเป็นผลร้ายมิได้ 3. ถ้อยคำในกฎหมายอาญาจะต้องบัญญัติไห้ชัดเจนแน่นอนปราศจากความคลุมเครือ 4. กฎหมายอาญาจะต้องตีความโดยเคร่งครัด จากหลักการที่ว่า “กฎหมายอาญาต้องตีความเคร่งครัด” มาจากมาตรา 2 ถ้อยคำที่ว่า “อันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิด” ซึ่งยังหมายถึง กฎหมายได้บัญญัติไว้โดยชัด
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3