การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
80 แจ้งว่าการกระทำใดเป็นความผิด จะตีความขยายความไปถึงการกระทำใดที่ไม่มีกฎหมายระบุชัดว่า เป็นความผิดให้เป็นความผิดไม่ได้ (สหรัฐ กิติ ศุภการ, 2558) การตีความโดยเคร่งครัดนี้ จะอาศัยเทียบ (Analogy) บทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง มาใช้ให้เป็นผลร้ายมิได้ ตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาของศาลไทยที่ยึดหลักตีความโดยเคร่งครัดนั้น เช่น ความผิดฐาน วางเพลิงเผาทรัพย์ผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 217 ทรัพย์ที่ถูกวางเพลิงจะต้องเป็น ของผู้อื่นเท่านั้น ถ้าเป็นทรัพย์ที่ตนมีกรรมสิทธิ์รวมกับผู้อื่น ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 217 เพราะ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 217 ไม่มีข้อความว่า “หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย” จะตีความ คำว่า “ทรัพย์ของผู้อื่น” ให้รวมถึงรัพย์ที่ผู้อื่นมีส่วนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยย่อมมิได้ เพราะเป็นการ ตีความกฎหมายที่มีโทษทางอาญาต้องตีความโดยเคร่งครัด ตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาประเด็นดังกล่าว มีคำพิพากษาฎีกาที่ 5170/2541 เมื่อมาตรา 217 บัญญัติไว้แต่เพียงว่าการวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่นเป็นความผิด ไม่มีข้อความว่า “หรือผู้อื่นเป็น เจ้าของรวมอยู่ด้วย” ก็เป็นความผิดแล้ว จึงต้องตีความคำว่า “ทรัพย์ของผู้อื่น” โดยเคร่งครัดเพรา ะ เป็นการตีความบทกฎหมายที่มีโทษทางอาญา มิอาจตีความขยายความออกไปให้รวมถึงทรัพย์ที่ผู้อื่น เป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยเพื่อให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยหรือผู้ต้องหาได้ ฉะนั้นเมื่อจำเลยเป็นเจ้าของบ้าน เกิดเหตุรวมอยู่ด้วย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 217 และย่อมไม่เป็นความผิด ตามมาตรา 218(1) เช่นเดียวกัน (วิเชียร ดิเรกอุดมศักดิ์, 2561) แม้จะห้ามอาศัยเทียบบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งมาใช้เป็นผลร้าย แต่หากอาศัยเทียบ เพื่อเป็นคุณแล้วไม่มีข้อห้าม แต่มีข้อสังเกตสำคัญมาก คือ ในกฎหมายอาญานั้นห้ามเฉพาะการอาศัยเทียบ (Analogy) เพื่อเป็นโทษ แต่ไม่ห้ามการตีความโดยขยายความ (Extensive interpretation) แม้จะเป็นการขยาย ความเพื่อเป็นโทษก็ตาม ในต่างประเทศ เช่น ประเทศอิตาลี ยอมให้มีการตีความดังก่าวได้ กล่าวคือ สำหรับกฎหมายที่มีโทษทางอาญา นั้นคงห้ามแต่เพียงการใช้เทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงเท่านั้น แต่ไม่ห้ามการตีความโดยการขยายความ เพราะเหตุว่าเป็นการยากที่จะกะเกณฑ์คาดการณ์ และ เล็งเห็นกรณีต่าง ๆ ล่วงหน้าไปเสียทุกอย่าง ดังนั้น Spirit ของกฎหมายแล้วในการจะใช้บทกฎหมาย บังคับแก่กรณีต่าง ๆ มากมายเช่นนี้ ถ้าหากประสงค์ให้บทบัญญัตินั้นมีผลได้อย่างแท้จริงสมดังที่ผู้ร่าง ปรารถนาจะให้เป็นเช่นนั้นแล้ว ก็เห็นจะต้องยอมรับให้มีการตีความโดยการขยายความได้แม้ในกรณี กฎหมายที่มีโทษทางอาญา เพราะถ้าจะพิจารณากันให้ลึกซึ้งลงไป การตีความโดยการขยายความ สำหรับกฎหมายที่มีโทษทางอาญานั้นย่อมทำได้ เนื่องจากไม่ได้เปลี่ยนแปลงความหมาย ของบทบัญญัตินั้น ๆ แต่อย่างใด หากแต่เป็นเพียงการทำให้ความหมายที่ขาดไปเนื่องจากไม่สมบูรณ์ ดังกล่าวสมบูรณ์สมตามเจตนาของผู้ร่างเท่านั้นเอง ศาลฎีกาเองก็ได้เดินตามความคิดอันนี้อยู่ จะโดย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3