การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

81 ตั้งใจหรือด้วยเหตุผลอื่นใดก็ตามเมื่อได้มีคำพิพากษาฎีกาที่ 877/2501 ซึ่งวินิจฉัยว่าการลัก กระแสไฟฟ้าเป็นการลักทรัพย์ ทั้ง ๆ ที่ถ้าจะถือหลักการตีความโดยเคร่งครัดตามความคิดเห็นของ กฎหมายไทยแล้ว ไม่มีทางที่จะแปลได้เลยว่ากระแสไฟฟ้าเป็นทรัพย์ เว้นแต่จะยอมรับหลัก ในการตีความโดยการขยายความเช่นในกฎหมายอิตาเลียนดังกล่าวข้างต้น (เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์, 2562) จากหลักดังกล่าวจึงสรุปได้ว่า บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการ อันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำ ความผิดนั้นต้องเป็นโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย หลักนี้ใช้กับกฎหมายที่มีโทษทางอาญาทุกฉบับ และ การตีความนั้นจะต้องเป็นการตีความกฎหมายโดยเคร่งครัดไม่อาจตีความขยายความออกไป เพื่อให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยหรือผู้ต้องหาได้แต่หากอาศัยเทียบเพื่อเป็นคุณแล้วไม่มีข้อห้าม ดังนั้นเมื่อ พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 เป็นกฎหมายที่มีโทษทางอาญาแล้ว บทบัญญัติใดที่กฎหมาย ใช้คำว่าคนต่างด้าว และคนต่างด้าวมีนิยามหมายความว่าบุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ดังนั้น คนสองสัญชาติซึ่งยังคงมีสัญชาติไทยก็ไม่อาจเป็นคนต่างด้าวตามความหมายของ พระราชบัญญัติคน เข้าเมือง พ.ศ. 2522 ได้ การนำบทบัญญัติที่จะต้องรับโทษทางอาญาที่มุ่งลงโทษแก่คนต่างด้าวมาใช้ แก่คนสองสัญชาติจึงเป็นการไม่ถูกต้องและขัดกับหลักการตีความโดยเคร่งครัด ทั้งจะตีความขยาย ความให้คนสองสัญชาติซึ่งใช้หนังสือเดินทางต่างชาติเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรนั้นให้เป็นคนต่าง ด้าวตามความหมายในพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองก็อาจกระทบต่อความถูกต้องด้วยหลักสิทธิ มนุษยชนและสิทธิความเป็นคนชาติที่รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญอีกด้วย จึงไม่อาจตีความขยายคว ามให้ เป็นโทษแก่คนสองสัญชาติได้ 2.7.5 กฎหมายเกี่ยวกับหนังสือเดินทาง ความหมายของหนังสือเดินทาง หากจะกล่าวถึงการเดินทางเข้าออกราชอาณาจักรไทย มักจะต้องกล่าวถึงหนังสือ เดินทาง แต่ในพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในการควบคุม การเดินทางเข้าออกประเทศนั้น ไม่ได้มีนิยามของคำว่าหนังสือเดินทางไว้โดยเฉพาะแต่อย่างใด หากพิจารณาถึงความหมายของหนังสิอเดินทางจากแหล่งอ้างอิงอื่นมีการให้ความหมายหลากหลาย ดังนี้ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ได้ให้ความหมายของหนังสือเดินทาง หมายถึง หนังสือสำคัญประจำตัวซึ่งทางราชการของประเทศหนึ่ง ออกให้แก่พลเมืองของประเทศนั้น เพื่อเป็นหลักฐานในการเดินทางไปต่างประเทศ ประมวลกฎหมายอาญา ได้นิยามคำว่าหนังสือเดินทางไว้ในมาตรา 1(15) ว่า หนังสือเดินทาง หมายความว่า เอกสารสำคัญประจำตัวไม่ว่าจะมีรูปลักษณะใดที่รัฐบาลไทย

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3