การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
82 รัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศออกให้แก่บุคคลใดเพื่อใช้แสดงตนในการเดินทาง ระหว่างประเทศ และให้หมายความรวมถึงเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางและแบบหนังสือเดินทาง ที่ยังไม่ได้กรอกข้อความเกี่ยวกับผู้ถือหนังสือเดินทาง (พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย อาญา (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2550, 2550) พลตำรวจตรี ดร.ณัฐธร เพราะสุนทร (2556) ได้ให้ความหมายของคำว่าหนังสือเดินทาง คือ หนังสือเดินทางที่คุ้มครองคนสัญชาติของตนที่เดินทางไปต่างประเทศ ระเบียบกระทรวงการต่างประเทศว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง พ.ศ. 2548 ได้นิยาม คำว่าหนังสือเดินทางไว้ว่า เอกสารราชการซึ่งบุคคลสัญชาติไทยใช้ในการเดินทางในต่างประเทศ (ระเบียบกระทรวงการต่างประเทศ ว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง พ.ศ. 2548, 2548) จากความหมายข้างต้นจึงอาจสรุปได้ว่า หนังสือเดินทางเป็นเอกสารที่ใช้ในการเดินทาง ระหว่างประเทศซึ่งประเทศนั้นๆออกให้แก่คนชาติของตน เพื่อใช้แสดงตนในการเดินทางระหว่าง ประเทศ วิวัฒนาการของหนังสือเดินทาง วิวัฒนาการหนังสือเดินทางในสมัยโบราณการเดินทางไปต่างเมืองจำกัดขอบเขตอยู่กับ ดินแดนใกล้ชิด และโดยปกติเป็นการเดินทางของชนชั้นปกครอง ขุนนาง พ่อค้า และนักสอนศาสนา การเดินทางของกลุ่มบุคคลดังกล่าวส่วนใหญ่จะใช้หนังสือหรือสาส์นของกษัตริย์ หรือผู้ปกครองของรัฐ ตนไปถึงกษัตริย์ หรือผู้ปกครองของอีกรัฐหนึ่ง โดยระบุวัตถุประสงค์ของการเดินทางของคณะบุคคล ของรัฐผู้ส่ง และขอให้รัฐผู้รับให้ความคุ้มครอง และอำนวยความสะดวกด้านต่างๆ ในกรณีของไทยมี หลักฐานคือพระราชสาส์นของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่ทรงแต่งตั้งคณะราชทูตอัญเชิญพระราช สาส์นไปเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศส ซึ่งเป็นการส่งคณะราชทูตไปถึงประเทศทวีปยุโรปเป็นครั้งแรก การขอให้รัฐผู้รับให้ความคุ้มครองและอำนวยความสะดวกยังคงปรากฏในพระราชสาส์นตราตั้ง เอกอัครราชทูตจนถึงปัจจุบัน และยังปรากฏในหนังสือเดินทางยุคปัจจุบันด้วย ซึ่งมีข้อความว่า “The Minister of Foreign Affairs Thailand hereby requests all whom it may concern to permit the citizen/national of Kingdom of Thailand herein to pass freely without delay or hindrance and to give all lawful aid and protection.” ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเริ่มปรากฏหลักฐานที่ชัดเจนเกี่ยวกับ การออกหนั งสือเดินทางสำหรับคนไทย ที่กระทรวงมหาดไทยออกเป็นหนั งสือราชการ ที่เขียนด้วยลายมือ เพื่อใช้สำหรับการเดินทางระหว่างเขต เมือง มณฑล หรือภายในพระราชอาณาเขต โดยระบุระยะเวลาในการใช้งาน วัตถุประสงค์ในการเดินทาง และมีความขอให้ข้าหลวงมณฑล ผู้ว่าราชการเมือง กรมการจังหวัด อำนวยความสะดวกในการเดินทาง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3