การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

83 ในช่วงต้น ร.ศ.111 (2436) พระยาพิพัฒน์โกษา ข้าหลวงรักษาราชการหัวเมือง ชายทะเลตะวันตกร่วมกับ พระยามหาโยธา และพระสุริยานุวัตร ดำริที่จะออกหนังสือเดินทางสำหรับ ประชาชนเพื่อใช้เดินทางไปต่างประเทศ และได้กำหนดรูปแบบหนังสือเดินทาง หลังจากนั้นสมเด็จ พระเจ้าบรมวงค์เธอกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศทรงเห็นชอบและ ได้ทรงมีหนังสือลงวันที่ 6 พฤษภาคม ร.ศ.111 กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวเพื่อขอพระบรมราชานุญาตออกหนังสือเดินทางให้แก่คนไทย เพื่อเดินทางไปต่างประเทศ ซึ่งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมติอมรพันธ์ ราชเลขาธิการ ทรงมีหนังสือลงวันที่ 11 พฤษภาคม ร.ศ.111 ตอบว่า “มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตรัสว่าชอบแล้ว แต่ในทิศอื่น ๆ ควรจะมี เหมือนกัน และคำสั่งที่จะมีถึงกงสุลให้อนุเคราะห์ตามลักษณะที่ว่านั้น จะมีด้วยฤๅไม่” ซึ่งถือเป็น จุดเริ่มต้นของการทำหนังสือเดินทางสำหรับการเดินทางไปต่างประเทศแก่คนไทย อย่างไรก็ตามในยุคสมัยนั้นยังไม่มีการกำหนดกฎเกณฑ์ว่าการเดินทางออกนอก พระราชอาณาเขตของคนสยามต้องมีหนังสือเดินทาง ประชาชนจึงไม่ได้ยึดถืออย่างเคร่งครัดว่า หนังสือเดินทางเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเดินทาง เพราะยังไม่มีการตรวจตราการเดินทางเข้าออก ประเทศอย่างเข้มงวด กระทั่ง ในช่วงส่งครามโลกครั้งที่ 1 (2457 - 2461) รัฐบาลประเทศต่าง ๆ เริ่ม มีการตรวจลงตราหนังสือเดินทางของคนต่างชาติอย่างเข้มงวด ทำให้ผู้เดินทางออกจาก พระราชอาณาเขตของไทยซึ่งมิได้มีหนังสือเดินทางถูกกักไม่ให้เข้าประเทศ หรือถูกจับกุมในฐานะ ผู้หลบหนีเข้าเมือง หรือถูกส่งกลับประเทศไทย เพื่อแก้ไขความเดือนร้อน เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2460 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้กำหนดกฎเกณฑ์อย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการออก หนังสือเดินทาง โดยการออก “ประกาศว่าด้วยผู้เดินทางออกไปนอกพระราชอาณาเขตให้มีหนังสือ เดินทาง” และให้คนไทยที่จะเดินทางออกไปประเทศที่อยู่ห่างไกลต้องขอหนังสือเดินทางจาก กระทรวงการต่างประเทศ และหากเดินทางไปประเทศใกล้เคียงติดต่อกับพระราชอาณาเขตต้อง ขอจากผู้ว่าราชการจังหวัด หรือสมุหเทศาภิบาลในมณฑลของตน ปี พ.ศ. 2463 องค์การสันนิบาตชาติได้จัดการประชุมที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เพื่อหารือเกี่ยวกับการกำหนดรูปแบบหนังสือเดินทาง รัฐบาลไทยได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมและ รับรองข้อมติดังกล่าว ต่อมาวันที่ 1 กรกฎาคม 2470 ประเทศไทยจึงได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติ คนเข้าเมืองฉบับแรก ทำให้เกิดกฎเกณฑ์และการปรับเปลี่ยนรูปแบบของหนังสือเดินทางเป็นลักษณะ รูปเล่มตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยในปัจจุบัน ประเทศไทยจะออกหนังสือเดินทางไทยให้กับบุคคลผู้มี สัญชาติไทยเท่านั้น โดยการออกหนังสือเดินทางไทย เป็นไปตามระเบียบกระทรวงการต่างประเทศ ว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง พ.ศ.2548 (กรมการกงสุล กระทรวงต่างประเทศ, 2562) การออกหนังสือเดินทาง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3