การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
84 พัฒนาการด้านหนังสือเดินทางได้ปรับเปลี่ยนไปทุกยุคสมัย ด้วยอาชญากรรมระหว่าง ประเทศมีปริมาณและความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ดังเห็นได้จากการที่ประมวลกฎหมายอาญาของไทยได้ บัญญัติความผิดเกี่ยวกับหนังสือเดินทางไว้เพิ่มเติมว่า ปัจจุบันการก่อการร้ายและอาชญากรรม ข้ามชาติได้ทวีความคุนแรงและมีรูปแบบที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น และได้มีการใช้หนังสือเดินทางเป็น เครื่องมือในการกระทำดังกล่าว ซึ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงภายในประเทศและต่อความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศ สมควรขยายขอบเขตของการกระทำความผิดเกี่ยวกับหนังสือเดินทางให้กว้างขึ้น และสมควรกำหนดอัตราโทษให้เหมาะสมกับความผิด (พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล กฎหมายอาญา (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2550, 2550) การออกหนังสือเดินทางของไทยจึงต้องมีกฎหมายควบคุมมากยิ่งขึ้น โดยกำหนดทั้ง รูปแบบของเอกสารด้วยการนำหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ออกใช้งานแทนหนังสือเดินทางรูป แบบเดิมทำให้ให้ปลอมแปลงยากยิ่งขึ้นและให้อำนาจเจ้าพนักงานของไทยในการคัดกรองการบุคคล ที่สมควรแก่การออกหนังสือเดินทางให้ ดังเห็นได้จากกฎหมายเกี่ยวกับหนังสือเดินทางที่ใช้ฉบับ ปัจจุบันคือ ระเบียบกระทรวงการต่างประเทศว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง พ.ศ. 2548 กฎหมายดังกล่าวกำหนดประเภทของหนังสือเดินทางไทย หลักเกณฑ์ว่าจะออกหนังสือ เดินทางให้แก่ผู้ใด ภายใต้เงื่อนไขใด ๆ บ้าง รวมถึงการปฏิเสธหรือยับยั้งคำขอออกหนังสือเดินทางและ การยกเลิกหนังสือเดินทาง การใช้หนังสือเดินทางไทยในการเดินทางเข้าออกระหว่างประเทศ แม้จะระเบียบการตำรวจกำหนดขั้นตอนการตรวจบุคคล เดินทางเข้า - ออก ราชอาณาจักรไทย ว่าต้องมีการตรวจหนังสือเดินทางข้างต้น แต่ได้มีการสอบถามไปยังคณะกรรมการ กฤษฎีกาว่ากรณีบุคคลซึ่งได้สัญชาติไทย (บุคคลถือสองสัญชาติ) เดินทางออกไปนอกประเทศโดยไม่มี หนังสือเดินทาง เมื่อเวลาต้องการกลับเข้ามาประเทศไทยก็อ้างว่าเป็นคนในสัญชาติไทย หรือยื่นคำร้อง ขอเข้าประเทศ กรณีดังกล่าวมีประเทศใดบ้างหรือไม่ที่มีกฎหมายลงโทษบุคคลในสัญชาติของประเทศ นั้น ๆ ซึ่งหลบหนีออกไปนอกประเทศโดยไม่มีหนังสือเดินทาง ซึ่งต่อมาคณะกรรมการกฤษฎีกาได้มี ความเห็นเรื่องดังกล่าวว่า หลักกฎหมายสมัยปัจจุบัน พลเมืองของประเทศหนึ่ง ๆ มีสิทธิที่จะเดินทาง ออกนอกประเทศไปยังอีกประเทศหนึ่งโดยเสรีและไม่ต้องขออนุญาต ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิ มนุษยชน ค.ศ. 1948 ข้อ 13(2) ซึ่งมีความว่า “ทุกคนมีสิทธิออกจากประเทศใด ๆ ไป รวมทั้งประเทศ ของตนเองด้วย และที่จะกลับยังประเทศของตน” หนังสือเดินทางไม่มีลักษณะเป็นใบอนุญาตให้ออก นอกประเทศได้ เป็นเพียงเพื่อใช้เสมือนบัตรประจำตัวของผู้เดินทางอันจะเห็นได้ว่ามีข้อความเกี่ยวกับ ลักษณะรูปพรรณ อาชีพ และสัญชาติของผู้ถือหนังสือเดินทาง วัตถุประสงค์ของหนังสือเดินทางก็เพื่อ จะแสดงว่าผู้ถือหนังสือเดินทางนั้นเป็นชนในสัญชาติของประเทศซึ่งเจ้าหน้าที่ของประเทศของผู้นั้น เป็นผู้ออกให้เพื่อผู้นั้นจะได้รับความช่วยเหลือและความคุ้มครองในต่างประเทศตามสมควร
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3