การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

87 จากตัวอย่างกฎหมายสัญชาติฉบับแก้ไขเพิ่มเติมของสหพันธรัฐรัสเซียข้างต้น เห็นได้ว่าเมื่อ กฎหมายภายในของสหพันธรัฐรัสเซียไม่ได้บังคับให้ผู้ถือสัญชาติรัสเซียจะต้องถือสัญชาติเพียงสัญชาติ เดียว แต่เพื่อให้เกิดมาตรการการควบคุมเพื่อความมั่นคงของประเทศสหพันธรัฐรัสเซียจึงได้ออก กฎหมายฉบับนี้ขึ้นเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบจำนวนประชากรซึ่งถือสัญชาติอื่นด้วยและ เพื่อควบคุมการถือสัญชาติอื่นของบุคคลสัญชาติรัสเซีย และในอนาคตอาจนำเข้าฐานข้อมูลนี้ไปพัฒนา เพื่อปรับแก้กฎหมายควบคุมหรือมาตรการใด ๆ แก่คนสองสัญชาติต่อไปได้ 2.8 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ภัทริน ขาวจันทร์ (2552) ศึกษาเรื่อง คนสัญชาติไทยที่ถือสองสัญชาติ ผลการศึกษาพบว่า ในอดีตการถือหลายสัญชาตินั้นไม่ได้รับการยอมรับเท่าใด แต่ปัจจุบันสภาพแวดล้อมของโลกและ ทัศนคติที่เปลี่ยนไปส่งผลให้นโยบายและความคิดเห็นต่อการถือหลายสัญชาติของหลายประเทศนั้นได้ มีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย กระแสโลกาภิวัฒน์ส่งเสริมการย้ายถิ่นของคนทั้งในและนอกประเทศ มากขึ้น ส่งผลให้เกิดแนวคิดในการถือสองสัญชาติหรือการถือสัญชาติของสองประเทศในขณะเดียวกัน มากยิ่งขึ้น โดยการถือสองสัญชาตินั้นเป็นผลจากการที่ไม่มีบทบัญญัติในการให้สัญชาติของบุคคลไว้ใน กฎหมายระหว่างประเทศเพียงกฎหมายเดียว แต่ละประเทศมีกฎหมายว่าด้วยสัญชาติของตนเองและ การให้สัญชาติของแต่ละบุคคลในแต่ละประเทศนั้นย่อมขึ้นอยู่กับนโยบายภายในของประเทศนั้น ๆ ทำให้การที่บุคคลมีสองสัญชาตินั้นอาจจะไม่ได้มาจากการเลือกของตัวบุคคลเอง แต่มาจากกลไก การทำงานของกฎหมายของแต่ละประเทศที่มีความแตกต่างและความขัดแย้งกัน โดยผลการศึกษา พบว่าปัจจัยหลักที่ทำให้การที่บุคคลมีการถือสองสัญชาตินั้นเพราะผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่บุคคล จะได้รับจากการมีสองสัญชาติ เช่น การคุ้มครองตามกฎหมายและข้อบังคับของประเทศที่ตนมี สัญชาติอยู่ การได้รับสิทธิและการเข้าถึงทรัพยากรที่คนชาติของบุคคลมีสิทธิที่จะได้รับ ทำให้การถือ สองสัญชาติเป็นคุณมากกว่าโทษต่อบุคคล ซึ่งความคิดนี้แตกต่างกับความคิดเห็นของรัฐไทยต่อบุคคล ที่มีสองสัญชาติเนื่องจากรัฐไทย เห็นว่าบุคลที่มีสองสัญชาติอาจนำประโยชน์ที่ได้มาจาก การมีสองสัญชาติไปใช้ในทางผิดและไม่เหมาะสม มุมมองเชิงลบเกิดขึ้นเนื่องจากจำนวนที่สูงขึ้นของ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการก่ออาชญากรรมข้ามชาติ กลุ่มผู้ก่อการร้ายและขบวนการแบ่งแยกดินแดน ซึ่งเป็น ภัยหลักต่อความมั่นคงของชาติ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศไทย และประเทศอื่นๆ เพื่อจัดการกับปัญหาจากการมีสองสัญชาติและเพื่อตรวจสอบจำนวนคนสอง สัญชาติในประเทศไทยและต่างประเทศซึ่งจะมีผลต่อการพัฒนาของประเทศในอนาคต ลัลนา นนทรังสี (2551) ศึกษาเรื่อง ปัญหาจากการมีหลายสัญชาติและแนวทางแก้ปัญหา ตามอนุสัญญาว่าด้วยสัญชาติในระดับพหุภาคี ผลการศึกษาพบว่า ความหลากหลายของหลักเกณฑ์ ในการให้สัญชาติเป็นสาเหตุของการมีหลายสัญชาติ การมีหลายสัญชาติก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3