การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

93 มีสุขภาพดีมีการตรวจรักษา การคัดกรองโรค การส่ งเสริมอนามัยแม่และเด็ก โดยให้ ความสาคัญและความคุ้มครองสิทธิของเด็กสูงมาก การดูแลผู้ป่วยที่ทุพพลภาพ ผู้ป่วยด้าน จิตเวช ผู้พิการรวมถึงผู้ที่เข้าสู่วัยชรา แนวทางด้านการประกันสังคมของนานาประเทศ ในสหภาพยุโรปการจัดระบบต่าง ๆ ในสังคมที่เกี่ยวของ และผลลัทธ์ของระบบสุขภาพ คือ ภาวะสุขภาพมีระบบการจัดการดานสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ การดูแลสิทธิประโยชน และใหประโยชนทดแทนพื้นฐานของประกันสังคมของนานาประเทศ สาหรับระบบผู้ป่วยนอก และผู้ป่วยในของสหพันธสาธารณรัฐเยอรมนีแยกกันอย่างชัดเจน ระบบผู้ป่วยนอกสวนใหญ่ จะเป็นคลินิกเอกชนซึ่งเป็นสมาชิกอยู่ในสมาคมแพทย์และมีรายได้หลักมาจากการให้บริการแก่ ผู้ป่วยนอกของกองทุนการเจ็บป่วยและไม่สิทธิรักษาผู้ป่วยใน องค์กรตัวแทน ผู้ให้บริการ (Corporatist) เป็นองค์กรอิสระมีอานาจในการบริหารปกครองตนเองและได้รับมอบหมายจาก รัฐในการดาเนินบทบาทเป็นตัวแทนตามกฎหมายของแพทย์และทันตแพทย์ เรียก ว่า (Association of Sickness Fund Physicians/Dentist) ในการเจรจาตอรองกับกองทุนการ เจ็บมีการรับสมาชิกโดยบังคับ (Kickbusch, I., Franz, C., Holzscheiter, A., Hunger, I., Jahn, A., Köhler, C., and Schmidt, J. O. ,2017, p. 898 – 903) สาหรับระบบส่งต่อบริการทางการแพทย์ของสหพันธ์รัฐเยอรมนี พบว่า แพทย์ที่ทาการรักษาผู้ป่วยในไม่มีสิทธิรักษาผู้ป่วยนอก สมาชิกมีอิสระในการเลือกขึ้นทะเบียน กับแพทย์ที่จะใช้บริการและไม่สามารถเข้ารับบริการในโรงพยาบาลได้โดยตรงต้องผ่านระบบ การส่งต่อจากแพทย์ที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ ยกเว้นกรณีนอกเวลาทาการคลินิก และกรณีฉุกเฉิน เมื่อนาระบบบริการทางการแพทย์ของประเทศสหพันธสาธารณรัฐเยอรมนีมาเปรียบเทียบกับ ประเทศไทยแล้ว จึงเห็นได้ว่าการเข้าสู่ระบบโดยการเป็นสมาชิกกองทุนการเจ็บป่วยมีสิทธิ ในการเลือกขึ้นทะเบียนกับแพทย์ และทันตแพทย์ที่จะรับบริการในกรณีที่มีการส่งต่อต้องได้รับ การส่งต่อจากแพทย์ที่ตนขึ้นทะเบียน เพื่อไปรับการบริการกับแพทย์อื่นหรือแพทย์เฉพาะทาง ได้ กรณีตัวอย่างของประเทศเยอรมัน ระบบบริการทางการแพทย์มีการแบ่งกันอย่างชัดเจนว่า แพทย์ที่ทาการรักษาผู้ป่วยนอก จะไม่มีสิทธิรักษาผู้ป่วยใน และในทางกลับกันแพทย์ที่รักษา ผู้ป่วยในไม่มีสิทธิ์ที่จะรักษาผู้ป่วยนอกแตกต่างจากบริบทของประเทศไทย ที่แพทย์สามารถ รักษาได้ทั้งในกรณีผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน นอกจากนี้ผู้มีสิทธิประกันตนสามารถไปใช้บริการที่ หน่วยบริการ สถานพยาบาล โรงพยาบาลตามที่ระบุไว้ได้โดยตรงที่อาจไม่ใช่หน่วยบริการปฐม ภูมิเบื้องต้น ในสิทธิประโยชน์ของการเข้าเป็นสมาชิกกองทุนความเจ็บป่วย (Sickness Fund) จะครอบคลุมการบริการผู้ป่วยนอกฟรี ถ้าต้องรักษาเป็นผู้ป่วยในการจ่ายค่ารักษาพยาบาลของ ผู้ป่วยแต่ละรายเป็นอัตรารายวัน (Per diem) อาจต้องร่วมจ่ายในบางรายการ แต่ในสิทธิ ประโยชน์ของเยอรมันยังไม่ครอบคลุมถึงสิทธิประโยชน์ในด้านการส่งเสริมสุขภาพ และการ ป้องกันโรค การเข้าสู่ระบบบริการปฐมภูมิในสถานบริการ ค่าใช้จ่ายทางกองทุนความเจ็บป่วย (Sickness Fund) จ่ายนั้นเกือบทั้งหมดเป็นเงินสาหรับดาเนินการทางการแพทย์ แต่งบลงทุน ทางการแพทย์นั้นรัฐบาลของแต่ละรัฐจะเป็นผู้ลงทุนให้ ความสาเร็จของกรณีประเทศเยอรมัน เป็นผลมาจากการผสมผสานการให้บริการ มีระบบที่ควบคุมค่าใช้จ่ายโรงพยาบาลและระบบ ประกันสุขภาพตามกฎหมาย เยอรมันถือเป็นประเทศที่ควบคุมค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพไม่ให้สูงได้

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3