การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

102 และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ เช่น นักการเมือง คนทางานอิสระในชนบท สหภาพแรงงาน และ กลุ่มพลเมืองมีส่วนร่วมในกระบวนการปฏิรูปการดูแลสุขภาพ (Kwon, S. ,2003 , p. 75 - 76) สาหรับรูปแบบ กลไก เกี่ยวกับการส่งต่อผู้ป่วยสาธารณรัฐเกาหลีสามารถไป พบแพทย์ในสถานบันสุขภาพหรือโรงพยาบาลใดก็ได้ตามต้องการ (ธานี ขามชัย, สัมฤทธิ์ ยศสมศักดิ์, และอนุรัตน์ อนันทนาธร , 2562, หน้า 178) ส่วนระบบการส่งต่อผู้ป่วยจะแบ่ง ออกเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนแรก ผู้ป่วยสามารถไปพบแพทย์ในโรงพยาบาลทั่วไปที่ใดก็ได้ตาม ต้องการ แต่ถ้าผู้ป่วยต้องการไปรักษาต่อในโรงพยาบาลต่อไปก็สามารถนาเอกสารการส่งตัวที่ ออกโดยแพทย์ที่วินิจฉัยครั้งแรกไปยื่นได้ทันที เว้นแต่กรณีคลอดบุตร การเข้ารับการรักษา ฉุกเฉิน พบทันตแพทย์ กายภาพบาบัด เวชศาสตร์ครอบครัว และผู้ป่วยโรคเลือดสามารถไปพบ แพทย์ได้โดยไม่ต้องมีเอกสารส่งต่อ และพบว่าประเทศบรูไนได้พัฒนาระบบการส่งต่อแบบ Flying Medical Service สาหรับพื้นที่ห่างไกล (Remote area) ให้ประชาชนสามารถเข้าถึง การรักษาได้อย่างเท่าเทียมและมีประสิทธิภาพ (Lee, J. Y., Jo, M. W., Yoo, W. S., Kim, H. J., & Eun, S. J. ,2014, p.1590 - 1592) 2.11 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง งานวิจัยศึกษาเรื่อง การพัฒนากฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนใน ระบบหลักประกันสุขภาพของประเทศไทย จิดาภา พรยิ่ง (2560) นาเสนอถึงความไม่เสมอภาค ในการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ในหลักประกันสุขภาพของประชาชนตามกฎหมายซึ่งไม่ สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ผลการวิจัยพบว่า การคุ้มครองสิทธิประโยชน์ หลักประกันสุขภาพ แยกเป็น 3 ระบบ ตามสถานภาพของประชาชน คือ ข้าราชการ ตามพระ ราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553 ลูกจ้างตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ประชาชนทั่วไปตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 สิทธิ ประโยชน์ด้านสุขภาพมีความแตกต่างกันในด้านสิทธิเลือกใช้สถานพยาบาล สิทธิการได้รับเงิน ช่วยเหลือเบื้องต้น เงื่อนเวลาของการเกิดสิทธิคุ้มครองการเข้าถึงบริการกรณีเจ็บป่วยและถึง บริการของสตรีมีครรภ์ การจ่ายเงินสมทบกรณีเจ็บป่วยและคลอดบุตร ความแตกต่างนี้เป็น ความไม่เสมอภาคตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย งานวิจัยศึกษาเรื่อง ความเหลื่อมล้าด้านสิทธิประโยชน์ของระบบสุขภาพ 3 กองทุน กนิษฐา สุขสมัย (2561) เป็นการศึกษาสภาพการณ์และปัญหาความเหลื่อมล้าของระบบ สุขภาพ 3 กองทุน ผลการวิจัยพบว่าความเหลื่อมล้าของระบบสุขภาพ มี 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้าน การเงินการคลังโดยรัฐให้เงินอุดหนุนแต่ละกองทุนไม่เท่ากัน 2) ด้านการบริหารจัดการกองทุน โดยแต่ละกองทุนมีการบริหารจัดการที่แตกต่างกัน 3) ด้านสิทธิประโยชน์แต่ละกองทุนมี เงื่อนไขการรักษาที่แตกต่างกัน 4) คุณภาพการรักษาและการบริการพบว่าสวัสดิการ รักษาพยาบาลจะได้รับความพึงพอใจมากที่สุด รองลงมาคือ กองทุนประกันสังคม และ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ งานวิจัยศึกษาเรื่อง เกณฑ์การกาหนดความคุ้มครองเกี่ยวกับการบริการทางการแพทย์ อนุวัตร แย้มสงวนศักดิ์ (2555) ค่ารักษาพยาบาลของกฎหมายประกันสังคมมีปัญหาในการใช้

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3